ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร คิดยังไง ขอคืนได้ไหม ?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

หากคุณกำลังสงสัยว่าทำไมเงินเดือนหรือค่าจ้างงานที่ได้รับนั้นน้อยกว่าที่ตกลงในสัญญา จริงๆแล้วอาจจะเป็นเพราะทางผู้จ่ายนั้นได้ทำการหัก ณ ที่จ่ายไป แล้วตัวภาษีหัว ณ ที่จ่ายคืออะไร คิดอย่างไร ขอคืนได้ไหม ? บทความนี้จะขอแนะนำคร่าวๆให้ได้ทราบกัน!

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายคืออะไร ?

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่บริษัทจดทะเบียนหรือนิติบุคคล (ผู้จ่าย) ต้องหักจากยอดจ่ายที่จ่ายให้กับนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา (ผู้รับ) ทุกครั้ง เพื่อนำส่งให้กับกรมสรรพากร ซึ่งผู้รับจะได้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษี

ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำ หัก ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง

  • หัก 1% สำหรับค่าขนส่ง : บริการขนส่งจากนิติบุคคลที่จดทะเบียน
  • หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา : โฆษณาต่างๆผ่านเอเจนซี่ที่จดทะเบียน หรือ Social Media ต่างๆ
  • หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆ : ค่าบริการในกิจการทุกอย่าง
  • หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ : ค่าเช่าสถานที่จากสิทธิการถือกุญแจ
  • หัก 5% สำหรับค่าจ้างนักแสดง นักร้อง ค่าเช่ารถยนต์ และเงินรางวัล ชิงโชค
  • ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คิดยังไง ?

วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับพนักงานบริษัท

  1. รายได้ทั้งปี – (ค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อนทั้งหมด) = รายได้จริง
  2. รายได้จริง x อัตราภาษีตามขั้นบรรได = ภาษีตลอดทั้งปี
  3. ภาษีตลอดทั้งปี ÷ 12 เดือน = ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  4. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย * จำนวนเดือนที่ทำงาน = ภาษีที่ต้องเสีย

ตัวอย่าง

  1. (480,000 – 160,000) = 320,000 บาท
  2. 320,000 x อัตราภาษีตามขั้นบรรไดสูงสุด 10% = 9,500 บาท
  3. 9,500 ÷ 12 เดือน = 791.66 บาท
  4. 791.66 x (ทำงาน 11 เดือน) = 8,708.33 บาท 

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายต่อเดือนจะเฉลี่ยอยู่ท่ี 791.66 บาท

หากทำงานเพียง 11 เดือน จะต้องจ่ายภาษีทั้งหมด 8,708.33 บาท

วิธีคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับฟรีแลนซ์

  1. รายได้จริง – (รายได้จริง x อัตราหักภาษี ณ ที่จ่าย) = รายได้หลังหัก ณ ที่จ่าย
    ตัวอย่าง 30,000 – (30,000 x 0.03) = 29,100 บาท
  2. [กรณีรวม VAT 7%] (รายได้จริง x 1 + VAT 7%) – (รายได้จริง x อัตราหักภาษี ณ ที่จ่าย) = รายได้หลังหัก ณ ที่จ่าย
    ตัวอย่าง (30,000 x 1 + 0.07) – (30,000 x 0.03) = 31,200 บาท

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ขอคืนได้ไหม ?

ได้ สามารถขอเงินคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไป หากเราคำนวณแล้วว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายมากกว่าค่าภาษีจริงที่ตัวเองต้องเสีย สิ่งที่ต้องทำคือ ยื่นภาษี ใหม่อีกครั้ง และแนบเอกสาร หลักฐานต่างๆที่แสดงรายได้และภาษีที่หักไป เช่น หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , ,