ราคาบัตร BTS และค่าโดยสารทั่วไป นักเรียน ผู้สูงอายุ ปี 2564

ค่าโดยสาร บัตร BTS

หากจะต้องพูดถึงหนึ่งในยานพาหนะหลักของคนกรุงเทพ คงเลี่ยงที่จะพูดถึงรถไฟฟ้า (BTS) ไม่ได้ เพราะ BTS นั้นช่วยให้คนกรุงฯ สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก เข้าถึงแหล่งธุรกิจ ช็อปปิ้งและอื่นๆมากมายได้ง่ายๆ อีกทั้งยังช่วยเลี่ยงและลดปัญหารถติด ประหยัดเวลาให้กับคนทำงานและนักเรียน นักศึกษาอีกด้วย ดังนั้นแล้วในบทความนี้เราจะมาอัพเดทรูปแบบราคาบัตรและค่าโดยสาร รถไฟฟ้า BTS ปี 2564 มาให้ทุกคนได้ทราบกัน

ตารางเปรียบเทียบค่าโดยสารบัตรเที่ยวเดียว
บัตรเติมเงินทั่วไป นักเรียน นักศึกษา และผู้สูงอายุ บัตรโดยสาร

ราคาบัตร bts 2564

BTS นั้นจริงๆแล้วมีอยู่ถึง 8 ประเภท คือ บัตรเที่ยวเดียว บัตรเติมเงิน บัตรพิเศษ บัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS Sky Smartpass บัตร Be First BTS บัตรเครดิต บลูเวฟ’ ธนาคารกรุงเทพ บัตรแรบบิท และบัตรรถไฟฟ้า BTS Connect แต่ว่าเราขออธิบายเฉพาะบัตรประเภทหลักที่ใช้โดยสารกันทั่วไป

#1
บัตร BTS เติมเงิน และเติมเที่ยว

บัตรเติมเที่ยว 30 วัน

สำหรับบุคคลทั่วไป

บัตร BTS บุคคลทั่วไป

อัตราค่าโดยสารบัตรเติมเงิน

จำนวนสถานี ค่าโดยสาร
0 – 1 สถานี 16
2 สถานี 23
3 สถานี 26
4 สถานี 30
5 สถานี 33
6 สถานี 37
7 สถานี 40
8 – 15 สถานี 44
16+ สถานี 59

บัตรเติมเที่ยวเดินทาง สำหรับบุคคลทั่วไป

  • 15 เที่ยว 465 บาท เฉลี่ย 31 บาท/เที่ยว
  • 25 เที่ยว 725 บาท เฉลี่ย 29 บาท/เที่ยว
  • 40 เที่ยว 1,080 บาท เฉลี่ย 27 บาท/เที่ยว
  • 50 เที่ยว 1,300 บาท เฉลี่ย 26 บาท/เที่ยว

เงื่อนไขออกบัตร

  • ใช้บัตรประจำตัวประชาชนมาซื้อหรือเติมเงินบัตร
  • ค่าธรรมเนียมออกบัตร 100 บาท
  • หากประสงค์เติมเงิน ต้องเติมขั้นต่ำ 100 และรวมไม่เกิน 4,000 บาท ในบัตร
  • ผู้ประสงค์ออกบัตรสามารถหาซื้อบัตร BTS โดยสารรายวันได้ทุกสถานี BTS ที่ห้องจำหน่ายตั๋ว

สำหรับนักเรียน นักศึกษา

บัตร BTS นักเรียน

อัตราค่าโดยสารบัตรเติมเงิน

จำนวนสถานี ค่าโดยสาร
0 – 1 สถานี 16
2 สถานี 23
3 สถานี 26
4 สถานี 30
5 สถานี 33
6 สถานี 37
7 สถานี 40
8 – 15 สถานี 44
16+ สถานี 54

บัตรเติมเที่ยวเดินทาง สำหรับนักเรียน นักศึกษา

  • 15 เที่ยว 360 บาท เฉลี่ย 24 บาท/เที่ยว
  • 25 เที่ยว 550 บาท เฉลี่ย 22 บาท/เที่ยว
  • 40 เที่ยว 800 บาท เฉลี่ย 20 บาท/เที่ยว
  • 50 เที่ยว 950 บาท เฉลี่ย 19 บาท/เที่ยว

เงื่อนไขออกบัตร

  • นักเรียนหรือนักศึกษา อายุไม่เกิน 23 ปีบริบูรณ์ ใช้บัตรนักเรียน นักศึกษาจากสถานศึกษาทั้งในและนอกประเทศ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนมาซื้อหรือเติมเงินบัตร
  • ค่าธรรมเนียมออกบัตร 100 บาท
  • หากประสงค์เติมเงิน ต้องเติมขั้นต่ำ 100 และรวมไม่เกิน 4,000 บาท ในบัตร
  • ผู้ประสงค์ออกบัตรสามารถหาซื้อบัตร BTS โดยสารรายวันได้ทุกสถานี BTS ที่ห้องจำหน่ายตั๋ว

สำหรับผู้สูงอายุ

บัตร BTS ผู้สูงอายุ

อัตราค่าโดยสารบัตรเติมเงิน

จำนวนสถานี ค่าโดยสาร
0 – 1 สถานี 8
2 สถานี 12
3 สถานี 13
4 สถานี 15
5 สถานี 17
6 สถานี 19
7 สถานี 20
8 – 15 สถานี 22
16+ สถานี 29

เงื่อนไขออกบัตร

  • ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ใช้บัตรประจำตัวประชาชนมาซื้อหรือเติมเงินบัตร
  • ค่าธรรมเนียมออกบัตร 100 บาท
  • หากประสงค์เติมเงิน ต้องเติมขั้นต่ำ 100 และรวมไม่เกิน 4,000 บาท ในบัตร
  • ผู้ประสงค์ออกบัตรสามารถหาซื้อบัตร BTS โดยสารรายวันได้ทุกสถานี BTS ที่ห้องจำหน่ายตั๋ว

#2
บัตร BTS โดยสารรายวัน

บัตรโดยสารประเภท 1 วัน

บัตรประเภทนี้เหมาะแก่ผู้ใช้ประเภท นักท่องเที่ยว หรือ ผู้ที่มากรุงเทพฯ เพียงไม่กี่วันเท่านั้น ซึ่งราคาบัตร BTS โดยสารรายวันจะอยู่ที่ 140 บาท ซึ่งบัตรประเภทนี้จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อเดินทางหลายเที่ยวและมูลค่าเกิน 140 บาท ใน 1 วัน

ซื้อ บัตร BTS โดยสารรายวัน กับ Klook จะเหลือ 126 บาท คลิกดูรายละเอียด

เงื่อนไขการออกบัตร

  • ผู้ประสงค์ออกบัตรสามารถหาซื้อบัตร BTS โดยสารรายวันได้ทุกสถานี BTS ที่ห้องจำหน่ายตั๋ว

#3
บัตร Be First BTS

บัตร Be First BTS

บัตร Be First BTS นั้นจะยังมีเฉพาะเจาะจงตามสิทธิประโยชน์ลงไปอีก เช่น สมัครแล้วได้รับประกันภัยอุบัติเหตุ สมัครแล้วได้รับ คูปองส่วนลด 500 บาท ทุกเดิน อย่างไรก็ตาม บัตรประเภทนี้จะสามารถใช้โดยสาร BTS และ BRT ได้ บัตร Be First BTS เหมาะสำหรับคนที่เป็นลูกค้า เปิดบัญชีอยู่กับธนาคารกรุงเทพ และไม่อยากถือบัตรหลายใบในกระเป๋า เงื่อนไขการออกบัตร

  • ผู้ประสงค์ออกบัตรสามารถหาซื้อบัตร BTS โดยสารรายวันได้ทุกสถานี BTS ที่ห้องจำหน่ายตั๋ว
  • ค่าธรรมเนียมรายปี 300-599 บาท
  • ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100-200 บาท

เป็นอย่างไรกันบ้าง? หวังว่าบัตร BTS ประเภทที่เราหยิบมาแนะนำนั้นจะช่วยให้คุณบริหารค่าใช้จ่ายในการเดินทางภายในกรุงเทพ ให้คุ้มและประหยัดมากที่สุดเท่าที่จะทำได้นะ!

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , , , ,