สิทธิประกันสังคม มาตรา 33, 39 และ 40 มีอะไรบ้าง? ในปี 2565

สิทธิประกันสังคม มาตรา 33, 39 และ 40 มีอะไรบ้าง? ในปี 2565

รู้ไหมว่าสิทธิที่จะได้รับจากประกันสังคมนั้นมีอะไรบ้าง? ไม่ว่าคุณจะทำงานบริษัท (มาตรา 33) ลาออกแล้ว (มาตรา 39) หรือประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ (มาตรา 40) วันนี้เราก็มีข้อมูลมาให้คุณได้ศึกษาทำความเข้าใจกันแล้ว เอาเป็นว่าเราไปดูกันเลยดีกว่าว่าในปี 2565 นี้ เมื่อทำประกันสังคมแล้ว จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง

ประกันสังคม คืออะไร?

ประกันสังคม (Social Security) ก็คือประกันประเภทหนึ่งที่จะช่วยสร้างหลักประกันความเสี่ยงให้กับผู้ประกันตนได้เป็นอย่างดี โดยเป็นสวัสดิการของทางรัฐที่ต้องการจะช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างจะต้องจัดทำประกันสังคมให้กับลูกจ้างทุกคน และร่วมส่งเงินเข้าสมทบทุนให้กับลูกจ้างด้วย โดยเงินที่สมทบเข้ามาในกองทุนประกันสังคม จะเป็นเงินที่หักเปอร์เซ็นต์จากเงินเดือนของลูกจ้างส่วนหนึ่ง และเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบให้นั่นเอง ส่วนคนที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างหรือมีอาชีพอิสระก็สามารถสมัครประกันสังคมได้ โดยจะมีแผนการจ่ายเบี้ยประกันให้เลือกหลายแผนตามความสะดวกของแต่ละคน และมีสิทธิที่ได้รับต่างกันไป

ใครบ้างที่สามารถรับสิทธิประกันสังคม

มาดูกันว่ามีใครบ้างที่สามารถรับสิทธิประกันสังคมได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มดังต่อไปนี้

สิทธิประกันสังคม มาตรา 33
รูป สิทธิประกันสังคม มาตรา 33
  1. ลูกจ้าง/พนักงานเอกชนทั่วไป
    (สิทธิประกันสังคม มาตรา 33)

กลุ่มแรกก็คือลูกจ้างหรือพนักงานเอกชนทั่วไปนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ลูกจ้างบริษัท และลูกจ้างโรงงาน เป็นต้น โดยกลุ่มนี้จะได้รับความคุ้มครองจากประกันสังคมตามมาตรา 33 ซึ่งจะได้รับสิทธิประกันสังคมทั้งหมด 7 กรณี ได้แก่ ว่างงาน, เจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร และชราภาพ

สิทธิประกันสังคม มาตรา 39 2
รูป สิทธิประกันสังคม มาตรา 39
  1. เคยเป็นพนักงานแต่ลาออกแล้ว
    (สิทธิประกันสังคม มาตรา 39)

สำหรับกลุ่มที่สองนี้ ก็คือกลุ่มคนที่เคยเป็นพนักงานหรือลูกจ้างในกลุ่มแรกมาก่อน และได้ลาออกจากการเป็นลูกจ้างแล้ว ซึ่งจะได้รับสิทธิประกันสังคมตามมาตรา 39 โดยจะได้รับสิทธิคุ้มครองทั้งหมด 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร และชราภาพ

(อัพเดท ช่วงโควิด 19)

  1. เจ็บป่วย สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ที่ท่านเลือกโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เว้นแต่กรณีฉุกเฉิน สามารถเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดได้ และหากป่วยจนต้องหยุดพักตามคำสั่งของแพทย์ จะได้รับค่าทดแทนการขาดรายได้สูงสุดวันละ 80 บาท
  2. ผู้ประกันตน รวมถึงผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท ต่อเดือน เป็ยเวลา 3 เดือน (เมษายน – มิถุนาคม) จำกัดสิทธิ์ 3 ล้านคน — ต้องลงทะเบียนแสดงความจำนงตรวจสอบคุณสมบัติ ตั้งแต่ 28 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
สิทธิประกันสังคม มาตรา 40
รูป สิทธิประกันสังคม มาตรา 40
  1. อาชีพอิสระ
    (สิทธิประกันสังคม มาตรา 40)

กลุ่มคนที่ทำอาชีพอิสระ เช่น ค้าขาย ฟรีแลนซ์ ก็สามารถเข้าร่วมกองทุนประกันสังคมได้ โดยจะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 40 ซึ่งจะได้รับสิทธิทั้งหมด 3 – 4 กรณีนั่นเอง ตามทางเลือกที่สมัครดังนี้

  • ทางเลือกที่ 1 ได้รับสิทธิ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ และตาย
  • ทางเลือกที่ 2 ได้รับสิทธิ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, ตาย และ ชราภาพ
  • ทางเลือกที่ 3 ได้รับสิทธิ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, ตาย, ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร

(อัพเดท ช่วงโควิด 19)

  1. ภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน ไม่เกิน 7,500 บาท
  2. เจ็บป่วย สามารถเข้ารักษาโดยใช้สิทธิ์ สปสช. และหากป่วยจนต้องหยุดพัก จะได้รับค่าทดแทนการขาดรายได้สูงสุดวันละ 300 บาท และได้รับไม่เกิน 90 วัน
  3. ผู้ประกันตน รวมถึงผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาท ต่อเดือน เป็ยเวลา 3 เดือน (เมษายน – มิถุนาคม) จำกัดสิทธิ์ 3 ล้านคน — ต้องลงทะเบียนแสดงความจำนงตรวจสอบคุณสมบัติ ตั้งแต่ 28 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

คนทำงานสามารถได้รับ สิทธิประกันสังคม อะไรบ้าง?

โดยเราจะมาพูดถึงสิทธิประกันสังคมของคนทำงานตามมาตรา 33 กันว่าจะได้รับสิทธิอะไรบ้าง โดยมี 7 กรณีดังต่อไปนี้

สิทธิประกันสังคม ว่างงาน

  1. ว่างงาน/ ตกงาน

สิทธิประโยชน์ :

กรณีที่ว่างงานหรือตกงาน คุณจะได้รับเงินทดแทนจากประกันสังคม แต่จะจ่ายเท่าไหร่ก็แตกต่างกันไปตามกรณีดังต่อไปนี้

  • ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยจะจ่ายปีละไม่เกิน 180 วัน ไม่เกิน 15,000 บาท
    ถูกเลิกจ้างไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ในระยะเวลา 1 ปี จะได้รับเงินทดแทนรวมกันแล้วไม่เกิน 180 วัน ไม่ว่าจะถูกเลิกจ้างกี่ครั้งก็ตาม
  • ลาออก ได้รับเงินทดแทนร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยจะจ่ายปีละไม่เกิน 90 วัน ไม่เกิน 15,000 บาท
    ลาออกไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ในระยะเวลา 1 ปี จะได้รับเงินทดแทนรวมกันแล้วไม่เกิน 90 วัน ไม่ว่าจะถูกเลิกจ้างกี่ครั้ง
  • (อัพเดท ช่วงโควิด 19) นายจ้างไม่ให้ทำงาน ได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ไม่เกิน 7,500 บาท

เงื่อนไขการรับสิทธิ :

ในการจะรับสิทธิประกันสังคมกรณีว่างงานได้นั้น คุณจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือนขึ้นไป และว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 8 วัน ที่สำคัญจะต้องไม่ใช่ผู้ที่ถูกเลิกจ้างเพราะกรณีทุจริตหรือกรณีอื่นที่เป็นการร้ายแรงอีกด้วย โดยหลังจากว่างงานให้ขึ้นทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางานได้ทันที และต้องขึ้นทะเบียนภายใน 30 วันนับจากว่างงานเท่านั้น ซึ่งหลังจากขึ้นทะเบียนว่างงานแล้ว ก็จะต้องรายงานตัวต่อเนื่องทุกเดือนไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้งด้วย

สิทธิประกันสังคม เจ็บป่วย

  1. เจ็บป่วย

สิทธิประโยชน์ :

คุณจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีที่มีอาการเจ็บป่วย ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่

  • เจ็บป่วยทั่วไป สามารถเข้าใช้บริการรักษาจากโรงพยาบาลตามที่ระบุไว้ได้เลย เพียงแค่ยื่นบัตรประกันสังคมก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  • เจ็บป่วยฉุกเฉิน กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลตามสิทธิเท่านั้น สามารถเข้าโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้ โดยจะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อนแล้วมาเบิกภายหลัง
  • อุบัติเหตุ สามารถเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาลแห่งไหนก็ได้เช่นกัน โดยให้สำรองจ่ายไปก่อนแล้วนำหลักฐานมาเบิกเงินภายหลัง

เงื่อนไขการรับสิทธิ :

ผู้ประกันตนที่รับสิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยได้ จะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน

สิทธิประกันสังคม คลอดบุตร

  1. คลอดบุตร

สิทธิประโยชน์ :

กรณีคลอดบุตรสามารถใช้สิทธิของใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นสามีหรือภรรยา โดยจะได้รับค่าคลอดบุตรแบบ 13,000 บาทต่อครั้ง และยังได้รับเงินสงเคราะห์จากการลาคลอดอีกด้วย แต่จะต้องใช้สิทธิของฝ่ายหญิงเท่านั้น ซึ่งจะได้รับเงินสงเคราะห์ที่ร้อยละ 50 ของเงินเดือน และได้รับทั้งหมดเป็นเวลา 90 วัน

เงื่อนไขการรับสิทธิ :

การจะรับสิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตรได้ คุณจะต้องมีการส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 เดือน

สิทธิประกันสังคม ทุพพลภาพ

  1. ทุพพลภาพ

สิทธิประโยชน์ :

ในกรณีที่ผู้ประกันตนทุพพลภาพ จะได้รับสิทธิประกันสังคมเป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง และได้รับต่อเนื่องตลอดชีวิต และยังมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ และเงินบำเหน็จชราภาพอีกด้วย นอกจากนี้หากเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพอีก 40,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์เสียชีวิตอีกจำนวนหนึ่ง แต่จะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วมากกว่า 3 ปีขึ้นไป

เงื่อนไขการรับสิทธิ :

สิทธิประกันสังคมกรณีทุพพลภาพ จะจ่ายให้กับผู้ประกันตนที่มีการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมาแล้วตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ภายใน

สิทธิประกันสังคม เสียชีวิต

  1. เสียชีวิต

สิทธิประโยชน์ :

เมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิต จะได้รับค่าทำศพเป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท ได้รับเงินสมทบเท่ากับค่าจ้าง 2-6 เดือน (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ) และยังได้รับเงินคืนกรณีชราภาพอีกด้วย แต่ผู้เป็นทายาทจะต้องขอรับภายในเวลา 2 ปีเท่านั้น

เงื่อนไขการรับสิทธิ :

ต้องมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือนขึ้นไป จึงจะได้รับสิทธิประกันสังคมกรณีเสียชีวิต และที่สำคัญการเสียชีวิตจะต้องไม่เกิดจากการทำงานด้วย

สิทธิประกันสังคม สงเคราะห์บุตร

  1. สงเคราะห์บุตร

สิทธิประโยชน์ :

นอกจากจะได้รับเงินค่าคลอดบุตรแล้ว ก็ยังมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตรอีกด้วย โดยจะได้รับเดือนละ 600 บาท ไปจนถึงบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ และขอรับได้ไม่เกิน 3 คน ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งสิทธิประโยชน์ดีๆ ที่คุ้มค่ามากทีเดียว

เงื่อนไขการรับสิทธิ :

สำหรับเงื่อนไขในการรับสิทธิก็ไม่ยาก โดยจะต้องมีการจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 12 เดือนขึ้นไป ภายในระยะเวลา 36 เดือน ดังนั้นใครที่จ่ายเงินสมทบครบตามเงื่อนไขแล้ว ก็อย่าลืมขอรับสิทธิกันด้วย

สิทธิประกันสังคม ชราภาพ

  1. ชราภาพ

สิทธิประโยชน์ :

กรณีชราภาพจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ และเงินบำเหน็จชราภาพ ซึ่งมีรายละเอียดสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากประกันสังคมดังนี้

  • เงินบำนาญชราภาพ จะได้รับเป็นเงินเดือนที่ร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ หากจ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน ปรับเพิ่มอัตราบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อ ระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก 12 เดือน
  • เงินบำเหน็จชราภาพ จะได้รับเท่ากับจำนวนเงินที่สมทบเข้ามา และอาจได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ อีกด้วย ถ้าได้ส่งเงินสมทบตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด

เงื่อนไขการรับสิทธิ :

กรณีเงินบำนาญ จะต้องมีการจ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 180 เดือน ส่วนเงินบำเหน็จจะได้รับกรณีที่จ่ายสมทบไม่ถึง 180 เดือน โดยทั้ง 2 กรณีนี้จะต้องมีอายุครบ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้น และความเป็นผู้ประกันตนก็จะต้องสิ้นสุดลงแล้วด้วย

ประกันสังคมเป็นประกันที่จะมอบสิทธิประโยชน์ที่ดีให้กับผู้ประกันตนได้มากทีเดียว ดังนั้นมาสมัครเป็นผู้ประกันตนแล้วส่งเงินสมทบเพื่อสร้างหลักประกันที่ดีให้กับตนเองกันเถอะ โดยสามารถเลือกสมัครตามมาตราที่ตรงกับคุณสมบัติของตนเองได้เลย

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , , , , , , , , , , ,