กองทุนเงินทดแทน คือ จ่ายอย่างไร ต่างจากกองทุนประกันสังคมไหม

กองทุนเงินทดแทน

ในขณะที่กองทุนประกันสังคมมีนายจ้างและรัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินสมทบ และให้ความคุ้มครองผู้ประกันตนใน 7 กรณีที่ไม่ได้มาจากการทำงาน เช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน แต่ กองทุนเงินทดแทน คืออะไรหล่ะ? คือกองทุนเดียวกันกับกองทุนประกันสังคมรึเปล่า? ในบทความน้ีเราจะมาทำความรู้จักกับกองทุนนี้กัน!

กองทุนเงินทดแทน คืออะไร ?

กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่นายจ้างเป็นผู้จ่ายเงินสมทบรายปีให้กับสำนักงานประกันสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อหากเกิดเหตุการณ์ที่ลูกจ้างเจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิตจากการทำงานให้นายจ้าง กองทุนเงินทดแทนจะเป็นผู้จ่ายเงินชดเชยต่างๆ แทนนายจ้าง

ความแตกต่างระหว่าง กองทุนประกันสังคม และ กองทุนเงินทดแทน

คำอธิบายกองทุนประกันสังคมกองทุนเงินทดแทน
ผู้จ่ายเงินสมทบลูกจ้าง นายจ้าง รัฐบาลนายจ้าง
กรณีเหตุไม่ได้เกิดจากการทำงานเหตุเกิดจากการทำงาน
สิทธิประโยชน์เจ็บป่วยคลอดบุตรทุพพลภาพเสียชีวิตสงเคราะห์บุตรชราภาพว่างงานค่ารักษาพยาบาลค่าทดแทนค่าทำศพค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน

กองทุนเงินทดแทนคุ้มครองและจ่ายอะไรบ้าง

ค่ารักษาพยาบาล

  • หากลูกจ้างเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงาน จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 50,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง
  • หากลูกจ้างมีอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง สามารถจ่ายเพิ่มได้อีกตามความจำเป็นตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล หากเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐ

ค่าทดแทน

  • ค่าทดแทนกรณีไม่สามารถทำงานได้
    หากลูกจ้างเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงานเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำงานได้ จ่ายร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน โดยที่ค่าจ้างทดแทนที่ลูกจ้างจะได้รับนั้นต้องไม่น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน และได้รับเงินทดแทนสูงสุดในปัจจุบันไม่เกิน 14,000 บาท
  • กรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย
    หากลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลจนสิ้นสุดการรักษาและอวัยวะคงที่ โดยไม่เปลี่ยนแปลงเป็นระยะเวลา 1 ปี จะได้รับค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลา 10 ปี
  • ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพ
    หากลูกจ้างได้รับการประเมินเป็นผู้ทุพพลภาพ จะได้รับค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน ตลอดชีวิต
  • ค่าทดแทนกรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน
    หากลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน ผู้มีสิทธิตามกฏหมายจะได้รับรับค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลา 10 ปี
  • ค่าทำศพ
    หากลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือสูญหายเนื่องจากการทำงาน ผู้จัดการศพปัจจุบันจะได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
  • ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน
    – ค่าใช้จ่ายทางกายภาพบำบัด ไม่เกินวันละ 200 บาท ค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบำบัด ไม่เกินวันละ 100 บาท รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 24,000 บาท
    – ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบำบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ไม่เกิน 40,000 บาท
    – ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หน่วยละไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 160,000 บาท
    – ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านอาชีพ ให้จ่ายได้เฉพาะที่เป็นการฝึกตามหลักสูตรที่หน่วยงานของสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดำเนินการ ไม่เกิน 24,000 บาท

และนี่คือความแตกต่างระหว่างกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม หวังว่าผู้อ่านจะพอทราบรายละเอียดสิทธิประโยชน์ของกองทุนทดแทนมากขึ้นนะ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทนหรือกองทุนประกังสังคมสามารถสอบถามได้ที่นี่ หรือโทร 1506

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , , , , , ,