10 โบรกเกอร์ธนาคาร สำหรับการเปิดพอร์ตหุ้น ในปี 2565

10 โบรกเกอร์ธนาคาร สำหรับการเปิดพอร์ตหุ้น ในปี 2565
หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!

ADVERTISEMENT


หากว่าเพื่อน ๆ ต้องการลงทุนในหุ้น ไม่ว่าจะเป็นเทรดทำกำไรรายวัน ซื้อเก็งกำไรระยะสั้น ลงทุนระยะยาว หรือหวังปันผล แต่ยังไม่แน่ใจว่าจะเปิดพอร์ตกับโบรกเกอร์ไหนดี Huapood.com มีข้อมูลโบรกเกอร์จากธนาคารชื่อดังมาแนะนำถึง 10 แห่ง พร้อมข้อมูลค่าคอมมิชชันและเอกสารการสมัคร เพื่อช่วยให้เพื่อน ๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น 

แต่หากว่าเพื่อน ๆ ยังไม่แน่นใจว่าซื้อขายหุ้นต้องทำอย่างไรบ้าง ขอแนะนำให้อ่านบทความนี้ก่อน >> วิธีเล่นหุ้น ฉบับมือใหม่ 2021 อ่านจบเริ่มเล่นได้เลย

และแน่นอนนอกเหนือจากการลงทุนหุ้นแล้ว การลงทุนคริปโตก็ยังเป็นที่น่าสนใจและให้ผลตอบแทนที่ดีมากๆในช่วงนี้เช่นกัน หากใครสนใจหล่ะก็ เราขอแนะนำให้เริ่มจากศึกษาโบรกเกอร์ที่เป็นที่นิยมในบทความนี้ก่อนเลย! >> โบรกเกอร์เทรด Cryptocurrentcy ที่ไหนดี?

ประเภทพอร์ตซื้อขายหุ้น 

ก่อนเลือกโบรกเกอร์ เพื่อน ๆ ควรเลือกประเภทของบัญชีหรือพอร์ตที่ต้องการเสียก่อน ซึ่งพอร์ตซื้อขายหุ้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ต่างกันตรงการวางเงินเพื่อซื้อขายหุ้น ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงเอกสารการขอเปิดพอร์ตและค่าคอมมิชชันด้วย

Cash Balance

คือพอร์ตที่เราต้องฝากเงินสดเข้าไปก่อนถึงจะซื้อขายหุ้นได้ ต้องการใช้เท่าไรก็ฝากเท่านั้น คล้าย ๆ กับการเติมเงินเข้ามือถือแบบ Prepiad ไม่สามารถซื้อหุ้นเกินจำนวนเงินที่มี จึงควบคุมงบประมาณได้ง่ายกว่า ไม่เผลอซื้อเยอะเกินตัว เมื่อคำสั่งซื้อขายเรียบร้อยก็จะได้หุ้นหรือเงินเข้าพอร์ตทันที

พอร์ตประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับรายย่อย แถมยังสมัครง่าย ไม่ต้องรอให้โบรกเกอร์อนุมัติวงเงินใด ๆ 

Cash Account หรือ Cash Collateral

คือพอร์ตที่ซื้อขายหุ้นได้มากกว่าเงินที่มี แต่ต้องวางเงินสดเป็นหลักประกันกับโบรกเกอร์ 20% ของยอดเงินที่ต้องการใช้ เมื่อซื้อแล้วก็ต้องโอนเงินส่วนต่างที่เหลือให้โบรกเกอร์ภายใน 2 – 3 วันทำการ หรือตามข้อตกลงของแต่ละโบรกเกอร์ หากไม่ทำตามก็จะโดนค่าปรับ แต่หากว่าทำการขายหุ้นออกไป ก็จะได้เงินคืนเข้าพอร์ตภายใน 2 – 3 วันแล้วแต่ข้อตกลงเช่นกัน 

หากต้องการเปิดพอร์ตประเภทนี้ต้องยื่นเอกสารทางการเงินอย่างรายการเดินบัญชีประกอบเพื่อขออนุมัติวงเงิน 

Credit Balance หรือ Credit Line

พอร์ตประเภทนี้คือการยืมเงินจากโบรกเกอร์มาซื้อหุ้นก่อน แต่ต้องมีการวางหลักทรัพย์ค้ำประกันเอาไว้ อาจเป็นเงินสดหรือหุ้นก็ได้ แต่หากหุ้นที่ใช้ค้ำประกันมูลค่าลดลง โบรกเกอร์ก็มีสิทธิ์ขอให้นำเงินสดมาค้ำประกันเพิ่มได้ นอกจากนี้โบรกเกอร์ยังคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินที่กู้ยืมไปด้วย 

พอร์ตประเภทนี้ไม่เหมาะกับนักลงทุนมือใหม่ เพราะมีเงื่อนไขยิบย่อยมาก ๆ แถมยังต้องยื่นเอกสารทางการเงินเพื่อขออนุมัติวงเงินอีกด้วย 

สิ่งที่ควรพิจารณาเพิ่มเติมในการเลือกโบรกเกอร์หุ้น 

หลายคนอาจคิดว่าโบรกเกอร์หุ้นที่ไหน ๆ ก็เหมือนกันหมด แต่นั่นไม่เป็นความจริง แม้ว่าโบรกเกอร์ไหน ๆ ก็ใช้เทรดหุ้นได้ แต่อย่าลืมยังมีส่วนอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน  

ค่าคอมมิชชัน 

ปกติแล้วค่าคอมมิชชันมักจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดซื้อขายอยู่แล้ว จึงไม่ค่อยมีปัญหาหากว่าคุณซื้อขายหุ้นจำนวนเยอะ ๆ แต่หากว่าคุณเป็นนักลงทุนรายย่อยหรือเพิ่งเริ่มลงทุนแล้วล่ะก็ บอกเลยว่าค่าคอมมิชชันคือส่วนที่ต้องนำมาพิจารณาเป็นอย่างแรก

โบรกเกอร์บางแห่งคิดค่าคอมมิชชันขั้นต่ำต่อวันด้วย คิดเฉพาะวันที่มีการซื้อขายเท่านั้น แต่หากว่าซื้อหุ้นยอดเยอะจนคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วเยอะกว่าขั้นต่ำ โบรกเกอร์ก็จะเก็บยอดที่สูงกว่า 

ความสะดวกรวดเร็ว 

ความสะดวกที่ว่านี้ขอเน้นหนักที่ยังขั้นตอนการเปิดพอร์ตเป็นหลัก เพราะบางแห่งมีสาขาให้คุณเดินเข้าไปขอเปิดพอร์ตหุ้นได้เลย บางแห่งก็เปิดผ่านเว็บไซต์ หรือบางโบรกเกอร์ก็สามารถเปิดและยืนยันตัวตนผ่านแอพลิเคชันของธนาคารที่คุณใช้งานอยู่ได้ทันที แต่บางแห่งยังต้องส่งเอกสารเพื่อสมัครและยืนยันตัวตนผ่านไปรษณีย์ 

แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน ขอให้เลือกแบบที่ถนัด เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ชอบการเปิดพอร์ตเองผ่านระบบออนไลน์ 

บริการเสริม

โบรกเกอร์หลายแห่งมักมีบริการเสริมให้สมาชิกได้ใช้กันฟรี ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสรุปข้อมูลข่าวสารของตลาดโลก เศรษฐกิจ และการลงทุน รวมไปทั้งมีการจัดสัมมนาต่าง ๆ หรือแม้แต่ห้องเรียนออนไลน์บนเว็บไซต์ โดยที่บทความเหล่านี้รวบรวมและวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านนั้น ๆ เพื่อให้สมาชิกได้ใช้ประกอบการตัดสินใจเมื่อจะซื้อหรือขายหุ้น

โปรแกรมซื้อขายหุ้น

โบรกเกอร์ส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรมซื้อขายหุ้นชื่อ Streaming Pro มีให้ใช้งานผ่านเว็บไซต์และเป็นแอพลิเคชันสำหรับมือถือ เพียงคุณกรอกชื่อโบรกเกอร์ ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน ก็ดูความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นและส่งคำสั่งซื้อขายได้ทันที 

แต่บางโบรกเกอร์ก็มีแอพพลิเคชันเป็นของตัวเอง และมักใส่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวการลงทุนให้ผู้ใช้ได้ศึกษาเพิ่มเติม แถมบางแอพลิเคชันยังส่งคำซื้อขายได้ด้วยเช่นกัน 

เมื่อได้ข้อมูลหลัก ๆ ในการพิจารณาแล้ว ก็ไปดูเลยว่าโบรกเกอร์ทั้ง 10 แห่งนี้มีข้อดีอะไรบ้าง

#1
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด

โลโก้ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด

จุดเด่นของการเปิดพอร์ตหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง คือไม่คิดค่าคอมมิชชันขั้นต่ำ แต่คิดเป็นเปอร์เซนต์จากยอดซื้อขาย โบรกเกอร์นี้จึงกลายเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของนักลงทุนหน้าใหม่หรือรายย่อย เพราะหากต้องการสะสมหุ้นหรือซื้อขายในปริมาณน้อย ๆ ต้นทุนการซื้อขายก็จะไม่สูงมาก  

บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวงยังมีแอพลิเคชัน Aspen Bualuang Trade ซึ่งมีทั้งกราฟ ข้อมูลข่าวสารด้านการลงทุนให้ศึกษาเพิ่มเติมด้วย หรือจะใช้ตั้งเวลาซื้อขายหุ้นก็ได้เช่นกัน แต่หากไม่สะดวกใช้งานแอพลิเคชัน ก็สามารถศึกษาข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์ได้เช่นกัน 

ค่าคอมมิชชัน 

  • เริ่มต้นที่ 0.15% สำหรับพอร์ตประเภท Cash Balance เมื่อซื้อผ่านอินเทอร์เนตด้วยตัวเองพร้อมรับรายงานซื้อขายผ่านอีเมล (E-Services)
  • เริ่มต้นที่ 0.257% ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 100 บาทต่อวัน สำหรับพอร์ตประเภท Cash Balance หากซื้อขายผ่านโบรเกอร์ และพอร์ตประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะส่งคำสั่งซื้อเองหรือผ่านโบรกเกอร์

เอกสารสำหรับเปิดพอร์ต 

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  2. สำทะเบียนบ้าน  
  3. สำเนาหน้าแรกบัญชีธนาคาร  
  4. สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 3 เดือน สำหรับการเปิดพอร์ตแบบ Cash Collateral และ Credit Balance

#2
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย

โลโก้#2  บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย ถือเป็นโบรกเกอร์ที่อยู่ภายใต้ธนาคารกสิกรไทยอีกทีหนึ่ง จึงไม่แปลกหากว่าจะเปิดพอร์ตซื้อขายหุ้นผ่านเว็บไซต์หรือแอพลิเคชัน KPLUS ได้ แถมยังสะดวกรวดเร็วเพราะไม่จำเป็นต้องไปยืนยันตัวตนอีกรอบ เพราะถือว่ามีประวัติและได้ยืนยันตัวตนไปแล้วเมื่อตอนเปิดบัญชีธนาคาร 

นอกจากแอพลิเคชัน KPLUS แล้ว บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยก็ยังมี KS Super Stock ซึ่งเป็นแอพลิเคชันที่รวบรวมข้อมูลบทวิเคราะห์ต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญเอาไว้ สมาชิกจะได้ไม่พลาดข้อมูลสำคัญที่อาจช่วยเลือกซื้อหุ้นดี ๆ แถมยังส่งคำสั่งซื้อขายผ่านแอพนี้ได้ด้วย 

ค่าคอมมิชชัน 

  • เริ่มต้นที่  0.157%  ขั้นต่ำ 50 บาทต่อวัน สำหรับพอร์ตประเภท Cash Balance และ Credit Balance และเริ่มต้นที่ 0.207% สำหรับพอร์ตCash Account หากส่งคำสั่งซื้อขายเองผ่านอินเทอร์เนต 
  • เริ่มต้นที่ 0.257% ขั้นต่ำ 50 บาทต่อวัน หากเทรดผ่านโบรกเกอร์ สำหรับพอร์ตทุกประเภท

เอกสารสำหรับเปิดพอร์ต 

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  2. สำทะเบียนบ้าน  
  3. สำเนาหน้าแรกบัญชีธนาคาร  
  4. ตัวอย่างลายเซ็นบนกระดาษขาว สำหรับการเปิดผ่านช่องทางออนไลน์
  5. สำเนาเอกสารแสดงสถานะทางการเงิน เช่น สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 3 เดือน มียอดเงินเฉลี่ย 300,000 บาทสำหรับการเปิดพอร์ตแบบ Cash  Account  และ Credit Balance

#3
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด

โลโก้ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี เป็นบริษัทในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยาที่มีชื่อเสียงมายาวนาน นอกจากความมั่นคงแล้ว ยังมีการปรับปรุงบริการให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพิ่มความรวดเร็วด้วยบริการด้านออนไลน์ ทั้งการเปิดพอร์ตแบบออนไลน์ การทดลองใช้ 15 วัน แถมยังมีเกมการซื้อขายหุ้นให้นักลงทุนมือใหม่ได้ลองเล่นอีกด้วย

นอกจากนี้บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรียังมีข้อมูลข่าวสารและการฝึกอบรบด้านการลงทุนให้สมาชิกได้ศึกษาเพิ่มเติมและค้นหาหุ้นเด็ด ๆ บนเว็บไซต์หรือแอพลิเคชัน Krungsri Stock Expert อีกด้วย

ค่าคอมมิชชัน 

  • เริ่มต้นที่  0.15% ขั้นต่ำ 50 บาทต่อวัน สำหรับพอร์ตประเภท Cash Balance และ Credit Balance และเริ่มต้นที่  0.20 สำหรับพอร์ต Cash Account หากส่งคำสั่งซื้อขายเองผ่านอินเทอร์เนต 
  • เริ่มต้นที่ 0.25% ขั้นต่ำ 50 บาทต่อวัน หากเทรดผ่านโบรกเกอร์ สำหรับพอร์ตทุกประเภท

เอกสารสำหรับเปิดพอร์ต 

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  2. สำเนาหน้าแรกบัญชีธนาคาร  
  3. สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 3 เดือน

#4
บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด

โลโก้ #4 บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด

บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต ซึ่งอยู่ภายในเครือธนาคารธนชาตมีจุดเด่นที่ความสะดวกรวดเร็ว เพราะสามารถทำการเปิดพอร์ตออนไลน์ผ่านเว็บไซต์และยืนยันตัวตนผ่านแอพลิเคชันได้เลย ไม่ต้องส่งเอกสารไปยังบริษัทอีกครั้งหากพอร์ตมีหุ้นวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท

นอกจากใช้แอพลิเคชัน Thanachart Think เพื่อยืนยันตัวตนแล้ว ยังใช้ซื้อขาย รับข้อมูลข่าวสารเศษรฐกิจ การลงทุน ใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญของธนชาตได้อีกด้วย 

ค่าคอมมิชชัน 

  • เริ่มต้นที่ 0.15% ขั้นต่ำ 50 บาทต่อวัน สำหรับพอร์ตประเภท Cash Balance และ Credit Balance และเริ่มต้นที่  0.20 สำหรับพอร์ต Cash Account หากส่งคำสั่งซื้อขายเองผ่านอินเทอร์เนต 
  • เริ่มต้นที่ 0.25% ขั้นต่ำ 50 บาทต่อวัน หากเทรดผ่านโบรกเกอร์ สำหรับพอร์ตทุกประเภท

เอกสารสำหรับเปิดพอร์ต 

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  
  2. ตัวอย่างลายเซ็นบนกระดาษขาว พร้อมชื่อ-นามสกุลตัวบรรจง
  3. สำเนาหน้าแรกบัญชีธนาคาร  
  4. สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 3 เดือน กรณีเปิดพอร์ตประเภท Cash Collateral และ Derivatives

 

#5
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย ซีมิโก้ จำกัด

โลโก้ บลจ กรุงไทย ซีมิโก้ จำกัด

บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย ซีมิโก้ คือบริษัทในเครือกรุงไทยและบริษัทซีมิโก้ จึงทำให้มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนในหลักทรัพย์มากเป็นพิเศษ และยังทันสมัยมาก ๆ ด้วยเพราะสามารถเปิดพอร์ตเพื่อซื้อขายหุ้นผ่านแอพลิเคชัน WealthMe ได้ด้วยตัวเอง 

ที่สำคัญเลยก็คือไม่ว่าจะส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นด้วยตัวเองผ่านอินเทอร์เนตหรือผ่านตัวแทนของโบรกเกอร์ก็ไม่มีค่าคอมมิชชันขั้นต่ำต่อวัน จ่ายเพียงแค่คอมมิชชันเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดซื้อขายเท่านั้น จึงเหมาะกับผู้ลงทุนด้วยเงินจำนวนไม่มาก 

ค่าคอมมิชชัน 

  • เริ่มต้นที่ 0.157% สำหรับพอร์ตประเภท Cash Balance และ Credit Balance และเริ่มต้นที่ 0.257% สำหรับพอร์ต Cash Account หากส่งคำสั่งซื้อขายเองผ่านอินเทอร์เนต 
  • เริ่มต้นที่ 0.257% หากเทรดผ่านโบรกเกอร์ สำหรับพอร์ตทุกประเภท
  • ไม่มีค่าคอมมิชชันขั้นต่ำ

เอกสารสำหรับเปิดพอร์ต

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน   
  2. ตัวอย่างลายเซ็นบนกระดาษขาว พร้อมชื่อ-นามสกุลตัวบรรจง
  3. สำเนาหน้าแรกบัญชีธนาคาร  
  4. สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 3 เดือน ซึ่งมียอดหมุนเวียนเฉลี่ย 100,000 บาท กรณีเปิดพอร์ตประเภท Cash Account และ Credit Balance

#6
บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด

โลโก้ #6 บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด

การเปิดพอร์ตเทรดหุ้นกับบริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ ถือว่าสะดวกมาก หากเป็นลูกค้าใหม่สามารถติดต่อได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ทุกสาขา หรือหากเป็นลูกค้าของธนาคารที่ใช้แอพลิเคชัน SCB Easy อยู่แล้วก็สมัครผ่านเอพได้เลย ใช้เวลาในการอนุมัติพอร์ตไม่นาน 

นอกจากนี้บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ยังมีแอพลิเคชันด้านการลงทุนแยกออกมาอีกหนึ่งตัวชื่อว่า EASY INVEST ช่วยจัดการการซื้อขาย ข้อมูลการลงทุนทั้งหมดเอาไว้ในนี้ แถมยังมีข่าวสาร บทความ และบทวิเคราะห์ให้ได้ศึกษาเพิ่มเติมอีกด้วย 

ค่าคอมมิชชัน 

  • เริ่มต้นที่ 0.157% สำหรับพอร์ตประเภท Prepaid/Cash Balance และ Credit Balance และเริ่มต้นที่ 0.207% สำหรับพอร์ต Cash Account หากส่งคำสั่งซื้อขายเองผ่านอินเทอร์เนต 
  • เริ่มต้นที่ 0.257% หากเทรดผ่านโบรกเกอร์ สำหรับพอร์ตทุกประเภท
  • ไม่มีค่าคอมมิชชันขั้นต่ำ เมื่อสมัครใช้บริการรับรายงานการซื้อขายผ่านอินเทอร์เนต (e-statement)

เอกสารสำหรับเปิดพอร์ต

  • บัตรประชาชนตัวจริงเมื่อสมัครที่สาขาธนาคารไทยพาณิชย์ 
  • ไม่ต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติม หากสมัครผ่านแอพลิเคชัน SCB Easy

#7
บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด

โลโก้#7 บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด

บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ ถือเป็นบริษัทหลักทรัพย์เบอร์ต้น ๆ ของวงการ เพราะมีประสบการณ์ด้านนี้มาอย่างยาวนานจนได้รับความเชื่อใจจากนักลงทุนหลายรุ่นและหลายประเภท แถมยังมีบทวิเคราะห์และบทเรียนการลงทุนหุ้นเบื้องต้นให้สมาชิกได้ศึกษาเพิ่มเติมบนเว็บไซต์ และจัดสัมมนาเรื่องการลงทุนฟรีเป็นประจำด้วย 

แต่ว่าโบรกเกอร์มีพอร์ตให้เลือกเพียง 2 ประเภทคือ Credit Line และ Cash Balance และอาจไม่สะดวกสำหรับนักลงทุนที่เน้นความรวดเร็วเพราะต้องสมัครที่สำนักงานหรือสาขา ส่วนการเปิดพอร์ตผ่านอินเทอร์เนตก็ต้องลงทะเบียนทิ้งไว้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับและทำเรื่องเอกสารต่อ 

ค่าคอมมิชชัน 

  • เริ่มต้นที่ 0.157% สำหรับพอร์ตประเภท Cash Balance และ 0.207% สำหรับ Credit Line หากส่งคำสั่งซื้อขายเองผ่านอินเทอร์เนต 
  • เริ่มต้นที่ 0.257%  หากเทรดผ่านโบรกเกอร์ สำหรับพอร์ตทุกประเภท
  • ไม่มีค่าคอมมิชชันขั้นต่ำ

เอกสารสำหรับเปิดพอร์ต

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน 
  3. สำเนาหน้าแรกบัญชีธนาคาร 
  4.  หนังสือรับรองเงินเดือน หรือสำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 3 เดือน กรณีเปิดพอร์ตประเภท Credit Line

#8
บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด

โลโก้ #8 บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด

จุดเด่นของบริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบีคือไม่มีค่าคอมมิชชันขั้นต่ำ ดังนั้นต่อให้ซื้อขายด้วยยอดน้อย ๆ ก็ไม่ต้องห่วงว่าต้นทุนรวมจะสูงเกินไป แถมยังมีบทวิเคราะห์หุ้นและการลงทุนให้เรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการจัดอบรมสัมมนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เป็นพิเศษด้วย 

ยกเว้นว่าขั้นตอนการสมัครอาจจะต้องใช้เวลาเล็กน้อย เพราะต้องลงทะเบียนเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับแล้วจึงทำการส่งเอกสารและการยืนยันตัวตน  

ค่าคอมมิชชัน 

  • เริ่มต้นที่ 0.157% สำหรับพอร์ตประเภท Cash Balance และ Credit Balance และ 0.207% สำหรับ Credit Line หากส่งคำสั่งซื้อขายเองผ่านอินเทอร์เนต 
  • เริ่มต้นที่ 0.2570 % หากเทรดผ่านโบรกเกอร์ สำหรับพอร์ตทุกประเภท
  • ไม่มีค่าคอมมิชชันขั้นต่ำ

เอกสารสำหรับเปิดพอร์ต  

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน 
  3. สำเนาหน้าแรกบัญชีธนาคาร 
  4. สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 3 เดือน

#9
บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

โลโก้ #9 บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ถือเป็นบริษัทหลักทรัพย์ต่างชาติชื่อดังมาก เมื่อมาเปิดสาขาในประเทศไทยจึงได้รับความนิยมสูงเช่นกัน มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่หากอยากเปิดบัญชีผ่านเว็บไซต์ก็ทำได้เช่นกัน แถมยังมีบริการให้ทดลองใช้ระบบต่าง ๆ ได้นานถึง 30 วันอีกด้วย 

โบรกเกอร์นี้ยังมีแอพลิเคชันชื่อ Maybank Trade ซึ่งในนั้นมีทั้งบทวิเคราะห์เรื่องหุ้นและการลงทุนรวบเอาไว้ให้สมาชิกได้ใช้งานแบบฟรี ๆ ทั้งยังส่งคำสั่งซื้อขายหุ้นได้ด้วย เรียกได้ว่าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง นอกเหนือจากโปรแกรม Streaming Pro ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย 

ค่าคอมมิชชัน 

  • เริ่มต้นที่ 0.15%  ขั้นต่ำ 50 บาทต่อวัน สำหรับพอร์ตประเภท PREPAID (Cash Balance) และ Credit Balance และ 0.20% สำหรับพอร์ต Cash Account หากส่งคำสั่งซื้อขายเองผ่านอินเทอร์เนต 
  • เริ่มต้นที่ 0.25% ขั้นต่ำ 50 บาทต่อวัน หากเทรดผ่านโบรกเกอร์ สำหรับพอร์ตทุกประเภท

 เอกสารการเปิดพอร์ต 

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน 
  3. สำเนาหลักฐานที่แสดงถึงฐานะทางการเงิน เช่น สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 3 เดือน 
  4. สำเนาหน้าแรกบัญชีธนาคาร 

#10
บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮาส์ จำกัด (มหาชน)

โลโก้  #10  บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮาส์ จำกัด (มหาชน)

บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮาส์ คือบริษัทหลักทรัยพ์ที่อยู่ในเครือธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาส์ ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมานานในวงการธนาคารและบ้าน เมื่อขยายขอบเขตมายังวงการการลงทุนก็ยังได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย เพราะว่าโบรกเกรอ์นี้เน้นการให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ รวมไปถึงการวิเคราะห์ตลาดหุ้นเผยแพร่ให้กับสมาชิกเป็นประจำอีกด้วย แถมยังมีโปรโมชันเด็ด ๆ คอยทำตลาดบ่อย ๆ ด้วย 

แต่ว่าโบรกเกอร์นี้มีพอร์ตให้เลือก 2 ประเภทคือ Cash Balance และ Post-Paid/Cash Account สามารถสมัครผ่านสาขาธนาคารได้เลย หรือเปิดพอร์ตผ่านเว็บไซต์ก็ได้เช่นกัน แต่การเปิดพอร์ตผ่านเว็บไซต์อาจยุ่งยากสักนิดเพราะต้องส่งเอกสารผ่านไปรษณีย์เพื่อยืนยันตัวตนอีกครั้ง  

ค่าคอมมิชชัน 

  • เริ่มต้นที่ 0.157% ขั้นต่ำ 30 บาทต่อวัน สำหรับพอร์ตประเภท Cash Balance และ 0.207% สำหรับ Post-Paid/Cash Account หากส่งคำสั่งซื้อขายเองผ่านอินเทอร์เนต 
  • เริ่มต้นที่ 0.257% ขั้นต่ำ 30 บาทต่อวัน หากเทรดผ่านโบรกเกอร์ สำหรับพอร์ตทุกประเภท

 เอกสารการเปิดพอร์ต  

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน 
  3. สำเนาหน้าแรกบัญชีธนาคาร  
  4. สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารย้อนหลัง 3-6 เดือน สำหรับพอร์ตประเภทเงินสด (Post-Paid/Cash Account)

อย่าลืมว่าการลงทุนทุกประเภทมีความเสี่ยง ไม่เว้นแม้แต่การลงทุนในหุ้น ดังนั้นเพื่อน ๆ ควรศึกษาให้ดีก่อนการลงทุน ติดตามข่าวสารและการเคลื่อนไหวของตลาดเป็นจำ และที่สำคัญคือคอยเช็กมูลค่าของหุ้นและปรับพอร์ตเป็นประจำ เพื่อให้ได้ผลกำไรตามเป้าหมายทางการเงินที่ได้วางเอาไว้

ภาพปก freepik.com

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , ,