เลเวอเรจ (Leverage) คืออะไร ? เทรด Forex ใช้เท่าไหร่ดี ?

เลเวอเรจ (Leverage) คืออะไร ? เทรด Forex ใช้เท่าไหร่ดี ?

ในการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินทองที่เรียกว่า Forex นั้น มีฟังก์ชั่นที่น่าสนใจ จนสามารถดึงดูดผู้หลงใหลในการเสี่ยงโชคให้เข้ามาลงทุนในตลาดนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ หนึ่งในนั้นก็คือฟังก์ชั่นเลเวอเรจหรือการยืมเงินมาใช่ก่อนแต่จ่ายทีหลังนั่นเอง วันนี้เราจึงขออนุญาตพาทุกท่านมารู้จักกับทุกซอกทุกมุมของเลเวอเรจแบบละเอียด ตลอดจนถึงศึกษาทางหนีทีไล่เพื่อทำอย่างไรไม่ให้เสี่ยงต่อการถูก “ล้างพอร์ต” นั่นเอง

เลเวอเรจ (Leverage) คืออะไร ? เทรด Forex ใช้เท่าไหร่ดี ?
ภาพประกอบจาก Pixabay

เลเวอเรจ (Leverage) คือ อะไร

จริง ๆ คำว่าเลเวอเรจ (Leverage) สามารถอธิบายความหมายได้กว้างขวางมากมาย หากเป็นภาษาทางการที่นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้กัน อาจหมายความว่าอัตราทด หรือ การใช้สินเชื่อทางธุรกรรมเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำกำไรได้มากขึ้น แต่หากจะให้แปลความแบบลัดสั้นและตรงตัวที่สุด คำว่า เลเวอเรจ หมายถึงการใช้เงินน้อยเพื่อแลกเงินมาก ในขณะที่เรามีเงินทุน(Balance) ไม่มากพอนั่นเอง

ดังนั้นการใช้เลเวอเรจ คือการยืมเงินโบรคเกอร์มาใช้ก่อนทำให้เราสามารถขยายมูลค่าของกการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนได้สูงสุดตามที่เราต้องการหรือตามเงื่อนไขที่ทางโบรคเกอร์กำหนดไว้ เช่น เราต้องการเปิดการซื้อขายสำหรับไมโครล็อตที่มีมูลค่า 1,000 เหรียญ โดยใช้เงินจริงเพียง 1 เหรียญ เราก็สามารถเลือกใช้ฟังก์ชั่นที่เรียกว่า เลเวอเรจ ในอัตราส่วน 1-1,000 เป็นต้น

เลเวอเรจ (Leverage) คืออะไร ? เทรด Forex ใช้เท่าไหร่ดี ?
ภาพประกอบจาก Pixabay

เลเวอเรจ มีประโยชน์อย่างไร

สิ่งที่ให้ผลลัพธ์ชัดเจนและเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดสำหรับการใช้ฟังก์ชั่นเลเวอเรจ คือ ช่วยให้นักลงทุนสามารถเปิดการซื้อขายได้หลายครั้งในกรณีที่มีเงินทุนจำกัด ยกตัวอย่างเช่น หากนักลงทุนมีเงิน 1,000 เหรียญ หากใช้เลเวอเรจซึ่งมีอัตราส่วนน้อยอย่างเช่น 1-1 หรือ 1-2 จะทำให้พวกเขาเปิดการซื้อขายได้น้อยลง เนื่องจากมีเงินทุนจำกัด เพราะหากต้องการเปิดการซื้อขายในระดับไมโครล็อต ซึ่งมียอดการซื้อขายขั้นต่ำอยู่ที่ 1,000 เหรียญ ก็จะพบว่าเขาสามารถทำการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน Forex ได้เพียง 1 ล็อต สำหรับเลเวอเรจ 1-1 หรือ 2 ล็อต สำหรับเลเวอเรจ 1-2 เท่านั้นเอง แต่หากนักลงทุนเลือกใช้เลเวอเรจที่สูงขึ้นอย่างเช่น 1-100 พวกเขาสามารถเปิดการซื้อขายได้มากกว่า 100 ล็อตเลยทีเดียว เนื่องจากนักลงทุนเลือกใช้อัตราส่วนเงินจริง 1 เหรียญเท่ากับ 100 เหรียญ ดังนั้นเขาจะใช้เงินเพียง 10 เหรียญ เพื่อเปิดการซื้อขายที่มีมูลค่าสูงถึง 1,000 เหรียญได้อีกหลายครั้งเลยนั่นเอง

จำลองสถานการณ์ตัวอย่าง

หากยังมองเห็นภาพไม่ชัดเจนเกี่ยวกับเลเวอเรจ ท่านผู้อ่านสามารถจินตนาการตามสถานการณ์นี้ได้ ยกตัวอย่างเช่นผู้เขียนมีเงินอยู่ 100 เหรียญ แต่มีความประสงค์จะทำการซื้อขายค่าเงิน ดอลลาร์ออสเตรเลียกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เพราะคาดว่าค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียมีแนวโน้มที่จะสร้างกำไรให้ผู้เขียนในอนาคตได้อย่างแน่นอน จึงตัดสินใจเปิดการซื้อขายในอัตรา 1 ต่อ 1000 คือใช้เงินของผู้เขียนเพียง 1 เหรียญ ส่วนโบรกเกอร์ออกให้เราก่อน 999 เหรียญ ในขณะที่ทำการซื้อขายอยู่อัตราแลกเปลี่ยนเงิน AUD/USD อยู่ที่ 1.3750 ทำให้ผมมีเงิน AUD อยู่ในมือ 1,375 เหรียญ (1.375 x 1,000)  หลังจากนั้นค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย ขยับขึ้นตามที่ผู้เขียนประเมินไว้ขึ้นไปอยู่ที่ 1.39000 จึงตัดสินใจขายออก ได้เงินมา 1,911.25 (1375×1.3900) เมื่อทำการคืนเงินที่ยืมมาจากโบรกเกอร์ 999 เหรียญ จะเหลือกำไร 536.25 (1911.25-999) ดอลลาร์ออสเตรเลีย ถือว่าผู้เขียนได้กำไรจากการลงทุนเพียง 1 เหรียญ สูงถึง 536 เท่าเลยทีเดียว

เลเวอเรจ (Leverage) คืออะไร ? เทรด Forex ใช้เท่าไหร่ดี ?
ภาพจาก Pixabay

นอกจากเลเวอเรจแล้ว อะไรคือสิ่งที่นักลงทุนควรรู้

Margin หรือมีความหมายนัยเดียวกับ เงินประกัน ซึ่งโบรกเกอร์จะทำการเก็บเงินส่วนหนึ่งจากยอดเงินในบัญชีของนักลงทุน เพื่อเก็บไว้ในกรณีฉุกเฉินหรือในกรณีที่ค่าเงินติดลบจนมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้นในจำนวนมากเกินไป กล่าวคือ โบรคเกอร์จะไม่ยอมขาดทุนในทุกกรณี ส่งผลให้เกิดเงื่อนไขการวางเงินประกันหรือหักจากยอดเงินคงเหลือในบัญชีของนักลงทุน เป็นต้น

อย่างไรก็ดีหากนักลงทุนทำการซื้อขายโดยใช้อัตราเลเวอเรจในอัตราส่วนที่สูง เงินประกันหรือ Margin จะน้อยลงตามลำดับ เนื่องจากหากราคาอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนแม้เพียงเล็กน้อย ความเสี่ยงที่การสั่งซื้อนั้น ๆ ของนักลงทุนจะติดลบจนถึงขั้นต้องยึดเงินประกันก็มีสูงมากเลยทีเดียว เช่น ในกรณีที่เราทำการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์ออสเตรเลียกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (AUD/USD) โดยใช้เลเวอเรจที่ 1-2 ใน Standard 1 ล็อต ค่า Margin ที่โบรกเกอร์จะเรียกเก็บจากเราคือ 36,332 ดอลลาร์สหรัฐ แต่หากนักลงทุนใช้เลเวอเรจในอัตราที่สูง 1-1000 Margin ก็จะลดลงมาเหลือเพียง 72.65 ดอลลาร์เท่านั้น นั่นหมายความว่าการใช้เลเวอเรจที่สูงกว่าอาจหมายถึงหลุมพรางขนาดใหญ่ที่เหล่าโบรกเกอร์ใช้เพื่อล่อนักลงทุนที่หวังในผลกำไรจากการนำเงินน้อยไปแลกเงินมากนั่นเอง

เลเวอเรจ (Leverage) คืออะไร ? เทรด Forex ใช้เท่าไหร่ดี ?
ภาพจาก Pixabay

เทรด Forex ใช้เท่าไหร่ดี

คำถามนี้ถือเป็นข้อสงสัยยอดฮิตที่ถกเถียงกันมากในกลุ่มนักลงทุนว่าอัตราเลเวอเรจที่เหมาะสมที่สุดคือเท่าไร เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการถูก “ล้างพอร์ต” หรือพูดง่าย ๆ คือการถูกบังคับปิดบัญชี เนื่องจากเกิดความสูญเสียมากเกินไปในการเทรด Forex นั่นเอง

จริง ๆ แล้วนักลงทุนควรทำความเข้าใจก่อนว่าเลเวอเรจที่สูงอาจไม่ถือเป็นความเสี่ยงเสมอไป หากผู้เล่นสามารถควบคุมปริมาณการซื้อขายที่เราเรียกว่า Lot Size ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งขนาดของ Lot Size ที่แตกต่างกันย่อมมีผลต่อการลงทุนอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เราเทรดอัตราแลกเปลี่ยนเงินยูโรกับดอลลาร์สหรัฐ (EUR/USD) โดยใช้ค่ามาตรฐานสากลที่คำนวณว่า 1 Lot จะมีกำไรหรือขาดทุนอยู่ที่ 10$ ต่อจุด (Pips) หากผลการลงทุนออกมาเป็น +10 Pips ท่านก็จะได้รับเงินทันที 100$ เมื่อปิดการขาย

แต่อย่างไรก็ดีหากท่านมีเงินไม่มากพอที่จะซื้อในระดับ Standard Lot ก็สามารถซื้อในระดับ Micro Lot ซึ่งมีขนาดเพียง 0.01 ล็อต ซึ่งก็หมายความว่าทุก ๆ การขึ้นหรือลงของจุดหรือที่เราเรียกกันว่า Pips ในภาษา Forex จะมีอัตราได้เสียเพียง 10 เซ็นต์ เท่านั้นเอง ซึ่งสิ่งนี้ก็ทำให้เกิดช่องว่างในการเทรดสำหรับคนที่หวังจะได้กำไรสูงแต่จ่ายเงินน้อย จึงทำให้เลือกใช้เลเวอเรจอัตราสูง เช่น 1-1000 หรือ 1-2000 เพื่อเพิ่มขนาดของการซื้อขายนั่นเอง

หากเราศึกษามาถึงจุดนี้จะพบว่าการใช้เลเวอเรจที่เท่าไร อาจไม่ใช่ปัจจัยชี้วัดเดียวที่สามารถกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวในการเทรดได้ หากแต่การบริหารความสัมพันธ์ระหว่าง เงินทุน ขนาดการซื้อขาย ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่นักลงทุนทุกท่านควรตระหนัก เพราะหากเราบริหารจัดการต้นทุนการเทรดได้ดี การใช้เลเวอเรจสูงก็ไม่จำเป็นเสมอไป ดังนั้นผู้คนส่วนใหญ่ที่มีอุปนิสัย Play Safe จะนิยมใช้ Lot Size ต่ำ ร่วมกับการใช้เลเวอเรจไม่สูงมาก อยู่ในระหว่าง 1-50 และไม่เกิน 1-100 เพื่อหวังกำไรเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่สามารถสร้างความมั่นคงทางการเงินได้เป็นอย่างดี มากกว่าเลือกวิธีการนำเงินน้อยไปแลกเงินมากซึ่งอาจนำมาสู่การสูญเสียเงินเกินกว่าหน้าตักที่มี ส่งผลให้ถูก “ล้างพอร์ต” ฟรี ๆ โดยไม่มีสิทธิ์แก้ตัว

สุดท้ายด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถเอื้อต่อการศึกษาหาความรู้ในการลงทุนได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นการเข้าถึงหลักการและเทคนิคต่าง ๆ คือสิ่งที่ทุกคนสามารถเรียนรู้เท่าทันกันได้ จึงสามารถพูดได้ว่าไม่มีใครเก่งกว่าใครในวงการนี้ เพียงแต่ปัจจัยชี้วัดที่จำแนกนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จออกจากกลุ่มที่ล้มเหลว ก็คือความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนและการรู้จักประมาณตนเองต่างหาก อย่างไรก็ดีเลเวอเรจเป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือของนักลงทุนที่มีคุณอนันต์และมีโทษมหันต์ในคราวเดียวกัน ก่อนการตัดสินใจใช้ฟังก์ชั่นนี้ทุกครั้ง นักลงทุนควรพิจารณาร่วมกับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เราได้กล่าวถึงในข้างต้นให้ดี ก็จะสามารถใช้ “เลเวอเรจ” ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , , ,