ประกันสุขภาพ ที่ไหนดี ในปี 2564 | ทำไมต้องทำ?

ประกันสุขภาพ

เรื่องของสุขภาพร่างกายเป็นเรื่องที่บางคนยังมองไม่เห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพ หากไม่เกิดอาการป่วยขึ้นมา แต่เมื่อใดที่อาการป่วยเกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว จึงจะมองเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพขึ้นมาทันที เมื่อสุขภาพไม่แข็งแรงส่งผลให้ไม่สามารถทำงานเลี้ยงชีพได้จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่ยากจะแก้ไข นอกจากการเตรียมตัววางแผนสุขภาพไว้ก่อนล่วงหน้าก่อนที่วันนั้นจะมาถึง จะทำให้มีความพร้อมต่างๆเมื่อร่างกายต้องเจ็บป่วยขึ้นจริง จึงเกิดแนวความคิดของบริษัทประกันชีวิตต่างๆที่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายและการรักษาตัวระหว่างที่ป่วยขึ้น ให้คนได้เลือกในแบบต่างๆที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด

ประกันสุขภาพคือ อะไร

ประกันสุขภาพ เมื่อพูดถึงคำนี้ เชื่อว่าคนในยุคปัจจุบันรู้จักกันดี แต่เมื่อพูดถึงรายละเอียดที่เข้าใจง่ายๆ การประกันสุขภาพคือ การที่บริษัทประกันชีวิตได้ทำสัญญากับผู้เอาประกันในการที่บริษัทประกันชีวิตจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลต่างๆชดเชยให้ เมื่อผู้เอาประกันเกิดอาการเจ็บป่วย บริษัทประกันชีวิตต้องจ่ายเงินชดเชยตามกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันทำไว้กับบริษัท

ประกันสุขภาพให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันสุขภาพ
รูป ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง เชื่อว่าเป็นคำถามแรกที่ผู้ต้องการทำประกันสุขภาพต้องถามจากบริษัทประกันชีวิต การคุ้มครองต่างๆคุ้มค่าหรือไม่กับเบี้ยที่ต้องจ่ายไปในแต่ละปี โดยส่วนใหญ่แล้วหลักการคุ้มครองของบริษัทประกันชีวิตนั้น จะมีหลักการคุ้มครองที่คล้ายๆกันดังนี้

  • ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน

การประกันสุขภาพของผู้ป่วยในเมื่อพูดกันให้เข้าใจง่ายๆคือ การประกันสุขภาพผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเกิน 6 ชั่วโมง ถือว่าเป็นผู้ป่วยใน

  • ประกันผู้ป่วยนอก

ประกันผู้ป่วยนอก คือ การประกันสุขภาพของผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลต่ำกว่า 6 ชั่วโมง ด้วยอาการป่วยที่ไม่รุนแรงหรืออุบัติเหตุที่ไม่ร้ายแรง เมื่อรักษาแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย

  • ประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง คือการประกันสุขภาพเกี่ยวกับโรคที่ร้ายแรงที่ใช้เวลารักษายาวนานและต่อเนื่อง โรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคที่เกิดจากการประสบอุบัติเหตุที่ร้ายแรง เป็นการรักษาโดยแพทย์ที่ชำนาญการและการใช้เครื่องมือแพทย์เฉพาะทาง

  • ประกันอุบัติเหตุ

ประกันอุบัติเหตุ ไม่ว่าผู้ป่วยจะประสบอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยหรือร้ายแรงที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ทางบริษัทประกันต้องจ่ายเงินชดเชยตามสัญญาที่ได้ทำร่วมกับผู้ป่วย

  • ประกันชดเชยรายได้

ประกันชดเชยรายได้ หรือคนส่วนใหญ่จะเรียกว่า การประกันชดเชยรายวัน การที่ทางบริษัทต้องจ่ายเงินชดเชยรายได้ที่ต้องเสียไปเพราะผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ตามจำนวนวันที่ผู้ป่วยต้องเข้าทำการรักษา ซึ่งผู้ป่วยขาดรายได้จากการทำงาน แต่จะจ่ายชดเชยเฉพาะค่าชดเชยที่ไม่สามารถไปทำงานได้เท่านั้นไม่เกี่ยวกับค่ารักษาอื่นๆ

ความคุ้มค่าในการประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพ
รูป ต่ประกันสุขภาพ

ในการทำประกันชีวิต หากคิดคำนวณแล้วไม่เกิดความคุ้มค่า ก็คงจะเป็นเรื่องยากที่บริษัทประกันชีวิตจะทำให้คนซื้อประกันได้ แต่ปัจจุบันเมื่อพูดถึงความคุ้มค่าแล้วไม่สามารถเอาอะไรมาวัดได้ นอกจากสิ่งที่คิดว่าตนเองพึงพอใจจากการที่ซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันชีวิต แต่ในความเป็นจริงความคุ้มค่าที่คนเลือกซื้อประกันชีวิตสามารถมองเห็นได้ง่ายๆคือ

  1. เมื่อตัวเองป่วย

ต้องการเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลเอกชน ที่ได้รับการดูแลจากหมอและพยาบาลอย่างดีเยี่ยม หากเราไม่มีประกันสุขภาพที่สามารถจ่ายเงินค่ารักษาและค่าบริการอื่นๆในโรงพยาบาลเอกชนได้ เราก็คงต้องเลือกโรงพยาบาลของรัฐที่มีการบริการที่แตกต่างกันออกไป

  1. หากต้องเข้ารักษาในระยะยาว

ขาดรายได้จากการทำงาน หากมีประกันสุขภาพที่คุ้มครองรายได้ ก็จะได้รับเงินค่าชดเชยในแต่ละวันที่นอนป่วยในโรงพยาบาล ทำให้ได้รับเงินพอเลี้ยงชีพได้ระหว่างที่อยู่โรงพยาบาล หากไม่มีเงินส่วนนี้ บางครอบครัวถึงกับลำบากกันเลยทีเดียว

  1. หากต้องป่วยโรคร้ายแรง

ที่ต้องใช้เงินค่ารักษาที่สูงมาก หากทำประกันสุขภาพที่คุ้มครองเกี่ยวกับโรคร้ายแรง ก็คงจะทำให้ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลอย่างสุดความสามารถ แต่ถ้าหากไม่ได้รับการคุ้มครองโรคร้ายแรง ลองคิดดูว่าคงจะต้องทำการรักษาตามโรงพยาบาลรัฐบาลที่ต้องต่อคิวในการเข้ารักษาอย่างยาวนาน

ความคุ้มค่าในการประกันสุขภาพ อาจจะคุ้มค่าเมื่อถึงเวลาป่วย ค่าเบี้ยที่จ่ายไปคงน้อยกว่าการรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนที่มีบริการอย่างดีเยี่ยม แถมยังได้รับเงินชดเชยรายได้อีก ผู้ที่ทำประกันสุขภาพแล้วไม่เคยป่วยก็คงจะเห็นว่า ไม่คุ้มค่า แต่การประกันสุขภาพนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่ต้องพบเจอ หากทำไว้ก็ให้คิดเสียว่าเป็นความคุ้มค่าที่ซื้อสุขภาพไม่ให้ป่วยหรือการทำประกันสุขภาพแล้วป่วยก็สามารถได้รับเงินค่าชดเชยต่างๆได้โดยที่ไม่ส่งผลกระทบให้ตนเองต้องลำบาก

ประกันสุขภาพเหมาะกับใครบ้าง

ประกันสุขภาพ
รูป ประกันสุขภาพ
  • เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 12 ปี

เพราะวัยเด็กเป็นที่ที่ร่างกายและภูมิต้านทานต่างๆกำลังเจริญเติบโตยังไม่เต็มที่ มีภูมิคุ้มกันที่น้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ สามารถเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายๆ และเป็นวัยที่สามารถเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆเช่นกัน จึงเหมาะสมที่จะทำประกันสุขภาพมากที่สุด

  • ผู้ใหญ่ที่ประกอบอาชีพเสี่ยงได้รับอันตรายต่างๆ

เช่น พนักงานทำงานในเหมืองแร่ ซึ่งเสี่ยงในการเป็นโรคปอด พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้สัมผัสสารเคมีโดยตรง เสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆ อาชีพเสียงเหล่านี้จึงเหมาะสมที่จะทำประกันสุขภาพ

  • ผู้สูงวัย การทำประกันสุขภาพให้กับผู้สูงวัย

เป็นที่ทราบกันว่า จะต้องจ่ายเบี้ยประกันที่แพงมาก เพราะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากที่สุด ดังนั้นควรทำประกันสุขภาพให้กับพ่อแม่เราในอายุไม่เกิน 50 ปี หากเกินกว่านี้ จะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันที่แพงขึ้นจากวัยกลางคนอีกเท่าตัว

ปัจจัยในการเลือกซื้อประกันสุขภาพ

  • เบี้ยประกันที่ต้องจ่าย

เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายใน 1 ปี เป็นเรื่องที่ต้องคิดอันดับแรกว่าเราสามารถมีกำลังทรัพย์ในการจ่ายได้หรือไม่ หรือสามารถแบ่งจ่ายในแต่ละงวด 3 เดือน หรือ 6 เดือนได้หรือไม่ หากจำนวนเบี้ยที่สูงเกินไปไม่สามารถจ่ายได้ ก็ควรเลือกในแบบที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด

  • วงเงินในความคุ้มครอง

เงินในความคุ้มครองสามารถคุ้มครองตามที่ต้องการหรือไม่ หรือมีวัตถุประสงค์ที่เข้ารักษาตัวเมื่อป่วยโรงพยาบาลเอกชนสามารถมีวงเงินที่คุ้มครองอย่างเพียงพอหรือไม่ โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องทราบก่อนการเลือกซื้อประกันสุขภาพ

  • การคุ้มครองในเวลาเจ็บป่วย

ในการเจ็บป่วยประกันสุขภาพสามารถคุ้มครองทั้งการเป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหรือไม่ รวมถึงการคุ้มครองโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่ เป็นปัจจัยที่ผู้ต้องการซื้อประกันจะต้องเลือกในสิ่งที่ต้องการให้คุ้มค่าที่สุด

ทำประกันสุขภาพที่ไหนดี 

การเลือกทำประกันสุขภาพต้องเปรียบเทียบความคุ้มค่าหรือตรงตามความต้องการที่สุด จากบริษัทประกันชีวิตที่มีอยู่มากมาย มาดูตารางการเปรียบเทียบการประกันสุขภาพของบริษัทต่างๆในปี 2021 / 2564 ตามตารางนี้

ประกันสุขภาพที่ไหนดี 2563 - Screen Shot 2563-03-22 at 15.48.24

จากตารางได้เลือกบริษัทประกันชีวิตที่รู้จักกันดีในประเทศไทยมาเปรียบเทียบข้อดีของการประกันสุขภาพต่างๆไว้ตามตารางนี้ ความน่าสนใจของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ผู้ที่สนใจต้องการแบบไหน สามารถเลือกทำประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของตนได้ดีที่สุด

FAQ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันสุขภาพ

เราสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลซ้ำซ้อน จากหน่วยงานที่มีสวัสดิการให้เพิ่มได้หรือไม่ ?

เมื่อเราได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากสวัสดิการของหน่วยงานแล้ว เราไม่สามารถเบิกเงินชดเชยได้อีก แต่ถ้าได้รับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลเพียงบางส่วน ก็สามารถเบิกเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เหลือได้ตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์

เบี้ยประกันสุขภาพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ ?

เบี้ยประกันสุขภาพนั้น สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี

เบี้ยประกันสุขภาพที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ มี 3 ประเภท

1. เบี้ยประกันสุขภาพตนเองแต่หากทำประกันสุขภาพร่วมกับทำประกันชีวิต เบี้ยประกันจะต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
2. เบี้ยประกันสุขภาพพ่อและแม่ สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกินคนละ 15,000 บาท ดังนั้นเมื่อรวม 2 คน สามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 30,000 บาท
3.เบี้ยประกันสุขภาพของคู่สมรส กรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้สามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

สามารถยกเลิกกรมธรรม์การคุ้มครองของการประกันสุขภาพได้หรือไม่ทำได้อย่างไร ?

การยกเลิกกรมธรรม์ประกันสุขภาพ สามารถทำได้ ให้ผู้ที่เอาประกันโทรแจ้งกับทางบริษัทโดยตรงได้เลย แล้วทางบริษัทจะมีการชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆถึงการยกเลิก แล้ววจะดำเนินการยกเลิกตามขั้นตอนต่อไป

การเลือกทำประกันสุขภาพในยุคนี้ เมื่อศึกษารายละเอียดดูจากบริษัทต่างๆนับว่าสามารถให้ความคุ้มค่ากับผู้ที่เอาประกันได้ เพราะปัญหาหลักในยุคปัจจุบันในการดำเนินชีวิต ก็คือ ปัญหาของสุขภาพ ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงวัย นับว่าปัญหาสุขภาพถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต และในปัจจุบันโรคร้ายแรงต่างๆได้เกิดขึ้นอย่างมากมาย การเลือกซื้อประกันสุขภาพ จึงถือว่าเป็นการคุ้มครองความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในชีวิต เมื่อสุขภาพไม่ดีสามารถส่งผลกระทบต่อคนรอบข้างหรือคนในครอบครัวโดยตรง ดังนั้นจึงเชื่อว่าการเลือกซื้อประกันสุขภาพถือว่าเป็นการวางแผนทางการเงินในอนาคตเพื่อรองรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่อาจทราบล่วงหน้าได้เลย หากเรามีการวางแผนไว้เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นก็จะทำให้กระทบต่อคนในครอบครัวให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , , , , , , , , , ,