เศรษฐกิจพอเพียง คือ? | ความหมาย หลักปรัญชา แนวคิด การออม

เศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อกล่าวถึงเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง หลายท่านต้องนึกถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ท่านทรงแนะนำปรัชญาในการดำรงชีวิตให้กับคนไทยมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่รู้จักกับคำว่าพอเพียง หากทุกคนในประเทศไทยมีความพอเพียงในการดำรงชีวิตก็จะสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ไม่ขัดสน และถือว่าเป็นพื้นฐานที่ดีที่จะไม่ให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาในสังคม

เศรษฐกิจพอเพียง คือ

ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงแนะนำให้กับปวงชนชาวไทยที่ยาวนานมากว่า 25 ปี แนะนำการดำรงชีวิตบนพื้นฐานของความพอเพียง ให้รอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และสามารถมีชีวิตที่ดีขึ้นจากความพอเพียง ถึงแม้ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงมากแค่ไหน หากยังคงดำรงชีวิตอยู่บนฐานของความพอเพียง ก็จะส่งผลให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในชีวิตตลอดไป

ความพอเพียง คือ

ความพอเพียง เป็นคำที่ฟังดูเข้าใจง่าย แต่เชื่อว่าหลายๆคนทำได้ยาก แต่ถ้าหากมีความมุ่งมั่นตั้งใจคำว่าพอเพียงนี้ ก็สามารถทำกันได้ง่ายๆเช่นกัน ความพอเพียง คือ ความที่รู้จักพอในสิ่งที่ตนเองมี แล้วใช้ในสิ่งที่ตนเองมีอย่างคุ้มค่า โดยการไม่โลภมากเกินที่ตัวเองจะหาได้ ไม่เบียดเบียนความสุขของตนเอง หรือไม่เบียดเบียนความสุขของผู้อื่น ความพอเพียงเป็นความพอประมาณอีกอย่างหนึ่ง ในการรู้ขอบเขตของการที่จะใช้ของที่มีอยู่ประมาณไหน และควรหาให้ได้ในประมาณไหนถึงจะพอดี ไม่คิดอยากได้อยากมีจนเกินตัว ไม่ประมาท มีเหตุมีผล เพียงเท่านี้ก็คือความ พอเพียงแล้ว

เศรษฐกิจพอเพียง การออมเงิน 560647-PKSSN0-194
รูป ต่อภาษีรถยนต์

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักการและแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง คือหลักที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันที่อยู่บนคำว่าพอเพียง ไม่ประมาทและมีเหตุมีผล เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง ทำให้ตัวเองมีความสุขในการดำรงชีวิต โดยมีหลักแนวคิดดังนี้

  1. กรอบแนวคิด

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวางรากฐานของแนวคิด ที่ปลูกฝังให้คนมีทักษะการใช้ชีวิตที่เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา เข้าใจถึงการปรับตัวหรือพัฒนาตนเองให้อยู่รอดได้ในสังคมทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสังคมที่เจอกวิกฤตทางเศรษฐกิจ ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

  1. คุณลักษณะ

การดำรงชีวิตที่ดำเนินที่นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ อยู่บนทางสายกลาง มีการวางแผนปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างเป็นระบบและขั้นตอนเช่นกัน

  1. คำนิยาม

ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน

ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และภูมิคุ้มกัน

  1. เงื่อนไข

การดำเนินชีวิตอยู่บนคำว่าเศรษฐกิจพอเพียง ต้องมี ความรู้พื้นฐานที่สำคัญทั้งด้านความรู้และด้านคุณธรรม

– เงื่อนไขด้านความรู้ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆที่ศึกษามา นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตให้ได้ทุกรูปแบบนำความรู้ที่มี มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและควรพัฒนาตนเองให้มีความรู้ใหม่อยู่ตลอด

– เงื่อนไขด้านคุณธรรม ในการใช้ชีวิตประจำวันที่ตระหนักถึงคุณธรรม ใช้คุณธรรมน้อมนำชีวิต มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความขยันหมั่นเพียร ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจเรื่องต่างๆในชีวิตประจำวัน

  1. แนวทางปฏิบัติ

นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆของสังคมได้ในทุกๆด้าน

เศรษฐกิจพอเพียง การออมเงิน 463231-PFPECF-954
รูป ต่อภาษีรถยนต์

คุณลักษณะของเศรษฐกิจพอเพียง 

ลักษณะที่ต้องคำนึงถึง ที่เป็นลักษณะสำคัญที่ต้องเกิดขึ้นในตัวของบุคคล เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในสังคมให้ได้อย่างยั่งยืนดังนี้

  • ความพอประมาณ

ความรู้จักคำว่าพอดี ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป มีความเหมาะสมที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

  • ความมีเหตุผล

คิดหาเหตุผลก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง คิดเหตุผลที่มากหลากหลายโดยไม่เข้าข้างตัวเอง คิดไตร่ตรองให้รอบคอบ

  • ภูมิคุ้มกัน

เตรียมตัวให้พร้อมกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คิดวางแผนล่วงหน้า สามารถมองเห็นอนาคต สำหรับการวางแผนเมื่อต้องเจอกับสิ่งที่ไม่คาดฝันต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนที่อยู่บนทางสายกลาง ใช้ชีวิตอยู่บนคำว่า พอดี พอเพียง พอประมาณ ไม่ประมาท ไม่สร้างหนี้สิน ไม่เกิดการกู้ยืมต่างๆ ดำเนินชีวิตที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนและระดับประเทศ ใช้ชีวิตที่รู้จักความพอดี หากไม่มีคือหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายทั้งหลาย ใช้เท่าที่ตัวเองมี เพื่อที่ไม่ให้ตัวเองลำบาก และหากมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆของโลกในวันข้างหน้า สามารถมีภูมิคุ้มกันที่ดี ที่จะสามารถก้าวข้ามความเปลี่ยนแปลงต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นได้ โดยที่ไม่เป็นปัญหาสำหรับตัวเองและผู้อื่น การมองโลกในวันข้างหน้าด้วยสติอย่างรอบคอบ วางแผนทุกอย่างไว้เป็นอย่างดี ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปแค่ไหน ก็จะเชื่อว่าผู้ที่ปฏิบัติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็สามารถเอาตัวรอดได้อย่างสบายบนโลกใบนี้

เศรษฐกิจพอเพียง การออมเงิน 560647-PKSSN0-194
รูป ต่อภาษีรถยนต์

แนวคิด ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับการออมของเรา

การออมเงินเป็นเรื่องพื้นฐานที่สามารถเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการวางแผนการใช้เงินได้อย่างคุ้มค่า และสามารถใช้เงินได้อย่างไม่ฟุ่มเฟือยสามารถมีเงินเก็บออมไว้สำหรับสิ่งที่ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต การออมจึงเป็นการนำแนวคิด ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวเรามากที่สุด จึงมีหลักการ การออมเงินดังนี้

  1. เข้าใจเหตุและผลของการออม

การออมเงินหากทุกคนตั้งมั่นตั้งใจในการเก็บออม จะได้รับผลลัพธ์ที่ตามมาอย่างน่าพอใจเลยทีเดียว หากเข้าใจเหตุผลของการออม เราจะรู้ว่าการออมเงินนั้นสามารถ นำเงินที่ออมได้ไปใช้ประโยชน์ให้กับตัวเองได้อย่างมากมาย และจะรู้ถึงคุณค่าของเงินที่เราออมสามารถนำเงินนั้นไปใช้ได้อย่างมีเหตุมีผลอีกด้วย

  1. เข้าใจคำว่า จำเป็น กับ อยากได้

สองคำนี้อ่านดูแล้วเป็นคำที่อาจจะให้ความหมายใกล้เคียงกัน แต่จะมีบางคนเข้าใจว่า ความอยากได้คือความจำเป็น จึงทำให้เกิดความโลภขึ้นมาในความคิดตัวเองโดยไม่รู้ตัว ต้องทำความเข้าใจถึงเหตุผลอย่างแท้จริง ระหว่างจำเป็นกับอยากได้ จำเป็นจึงต้องมาก่อนความอยากได้ บางครั้งความจำเป็นเป็นสิ่งที่ชีวิตเราขาดไปแล้วจะทำให้ชีวิตเราลำบาก แต่ความอยากได้ คือได้มาแล้วแต่ใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จำเป็น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราไม่ควรประมาทในการตัดสินใจกับเรื่องบางเรื่องดังกล่าว หากเราเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเราก็จะมีเงินในส่วนของการเก็บออมมากขึ้น

  1. สร้างภูมิคุ้มกันในการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร

การบังคับให้ตัวเองแบ่งเงินรายได้อย่างเหมาะสมสำหรับการฝากธนาคาร เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองอย่างง่ายๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นในวันข้างหน้า เช่น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ตกงาน เราสามารถถอนเงินนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทันที แถมยังมีดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกๆปีอีกด้วย ดีกว่าการที่เราไม่มีแผนการออมเงินเลย

  1. บันทึกรายรับรายจ่าย

การทำบันทึกรายรับรายจ่ายสามารถให้เรามองเห็นการใช้เงินของเรา ในแต่ละวัน สามารถทราบได้ว่ารายจ่ายของเรามากเกินกว่ารายรับหรือไม่ สามารถวางแผนการสร้างรายรับที่มากขึ้นกว่ารายจ่าย หรือสามารถใช้รายจ่ายให้น้อยลงกว่ารายรับอย่างไร จะทำให้เราทราบแล้วสามารถเป็นแนวทางในการเก็บเงินไว้ออมบางส่วนได้

  1. กำหนดการออมเงินในแต่ละวันให้ชัดเจน

กำหนดการออมเงินให้กับตัวเองว่าในแต่ละวันต้องออมเงินกี่บาท เพื่อเป็นขอบเขตป้องกันการนำเงินไปซื้อของที่ไม่จำเป็น หรือเพื่อควบคุมการใช้จ่ายที่มากเกินไปในแต่ละวัน เราจะมีเงินออมที่สามารถนำออกมาใช้ในยามฉุกเฉินได้จากการใช้ชีวิตที่พอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงและการออมเงิน เป็นปรัชญาที่นำมาใช้ได้จริงแล้วเกิดผลที่มีค่าอันยิ่งใหญ่ในการดำเนินชีวิต หากทุกคนเข้าใจถึงการอยู่อย่างพอเพียง เมื่อสังคมโลกเปลี่ยนไปอย่างไร เศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ก็คงส่งผลให้คนที่เข้าใจในหลักการและดำเนินชีวิตตามหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ได้ไม่ลำบากอย่างแน่นอน

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , , , , ,