15 สมุนไพรลดความดัน ช่วยความดันต่ำ เบาหวาน ได้ดีที่สุด

สมุนไพรลดความดัน

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่อันตรายมาก แต่คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยตระหนักเพราะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว อันนี้ที่จริงโรคนี้ใกล้ตัวกว่าที่คิดมาก เนื่องจากมันเกี่ยวพันกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้มีคนมากมายป่วยด้วยโรคนี้ มีทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัวว่าป่วย หากรู้ก็มักจะรักษาตัวกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรคสงบและใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ในรายที่ไม่รู้ บางรายโชคร้ายมากที่กว่าจะรู้ก็สายเกินไปเสียแล้ว การรักษาต้องเน้นแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลัก แต่ว่าถ้าอยากรักษาด้วยแนวทางอื่นควบคู่ไปด้วย การใช้สมุนไพรจัดเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว ดังนั้นวันนี้มาดู 15 สมุนไพร ช่วยลดความดันกันดีกว่า จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย

10 สมุนไพร ช่วยลดความดัน

สมุนไพรลดความดัน - กระเทียม
รูป สมุนไพร
  1. กระเทียม (Garlic)

ปัจจุบันน่าจะเป็นสมุนไพรที่มีผลการวิจัยชัดเจนมากที่สุดเกี่ยวกับการลดความดันโลหิต เพราะในกระเทียมมีสาระสำคัญอย่าง “อัลซิลิน” ที่มีฤทธิ์ช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้นได้แถมยังช่วยลดไขมันในหลอดเลือดได้อีกด้วย ซึ่งทานแล้วน่าจะดีต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ส่วนงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องผลการรักษาโรคความดันโลหิตสูงจากกระเทียมก็พบว่า ค่าเฉลี่ยความดันไม่ว่าจะตัวบนหรือตัวล่างลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้มีผลวิจัยชัดเจนเฉพาะเรื่องความดันโลหิตสูงเท่านั้น แต่ในเรื่องการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจหรือภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่นนั้นอาจยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนเท่าใดนัก

สมุนไพรลดความดัน - กระเจี๊ยบแดง
รูป สมุนไพร
  1. กระเจี๊ยบแดง (Roselle)

มีสรรพคุณช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ ช่วยละลายและลดไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตันน้อยลง มีวิตามินซีสูง ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้หลอดเลือดและรักษาโรคหลอดเลือดเปราะ เคยมีการวิจัยกับอาสาสมัครผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยให้ดื่มชาที่ชงจากกระเจี๊ยบแดงพบว่าค่าความดันโลหิตทั้งตัวบนและตัวล่างลดลง แค่ดื่มในเวลาเพียง 3 วันเท่านั้นเอง อย่างไรก็ตามเมื่อหยุดดื่ม ความดันก็กลับมาสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน

สมุนไพรลดความดัน - ขิง
รูป สมุนไพร
  1. ขิง (Ginger)

มีฤทธิ์ร้อน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นมากยิ่งขึ้น แถมยังลดอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อได้อีกด้วย แต่ว่าหากป่วยเป็นนิ่วอยู่ด้วย ไม่แนะนำให้ทานขิง

สมุนไพรลดความดัน - ใบบัวบก
รูป สมุนไพร
  1. ใบบัวบก (Gotu Kola)

ส่วนใบบัวบกมีฤทธิ์ จะช่วยลดการอักเสบและบำรุงหลอดเลือด หลอดเลือดจะแข็งแรง ยืดหยุ่นมากขึ้น การไหลเวียนเลือดดีขึ้น แน่นอนว่าดีต่อผู้ป่วยความดันโลหิตเช่นเดียวกัน นอกจากช่วยบำรุงการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิตแล้ว ใบบัวบกยังช่วยบำรุงสมองและเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้จดจำได้อีกด้วย แต่เนื่องจากบัวบกเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นจัด จึงไม่เหมาะกับคนขี้หนาวหรือผู้ที่มีภาวะเย็นพร่อง เนื่องจากอาจทำให้ท้องอืดได้ ที่สำคัญอย่าทานมากเกินไปเพราะจะทำให้สมดุลร้อนเย็นของร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้

สมุนไพรลดความดัน - ขึ้นฉ่าย
รูป สมุนไพร
  1. ขึ้นฉ่าย (Celery)

อุดมไปด้วยโพแทสเซียม ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี ลดโอกาสที่หัวใจจะขาดเลือด แถมยังช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรงมากขึ้นด้วย ส่วนเรื่องลดความดันโลหิต ไม่ว่าจะผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหรือผู้ที่ตรวจพบว่าความดันเริ่มจะสูง การรับประทานขึ้นฉ่ายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยปรับระดับความดันให้ลดลงมาได้ อย่างไรก็ตามยังมีข้อควรระวังในการทานขึ้นฉ่ายอยู่ โดยเฉพาะเพศชาย หากทานมากเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน จำนวนอสุจิจะลดลง ทำให้มีบุตรยากได้

สมุนไพรลดความดัน - มะรุม
รูป สมุนไพร
  1. มะรุม (Moringa)

เป็นผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก โปรตีนสูง อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย นอกจากประโยชน์ทั่วไปด้านสารอาหารแล้ว การทานมะรุมยังดีต่อระบบไหลเวียนโลหิตเช่นเดียวกัน ช่วยกำจัดและลดคอเลสเตอรอลในเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่สมดุล แต่ว่ามะรุมก็ไม่ใช่สมุนไพรที่มีคุณสมบัติครอบจักรวาล เพราะว่ามะรุมเองก็มีพิษเช่นเดียวกัน ถ้าสตรีมีครรภ์ทานมากจนเกินไป อาจทำให้แท้งบุตรได้ เพราะฉะนั้นถ้าใครมีโอกาสที่จะแท้งอยู่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการทานมะรุม ส่วนผู้ที่มีปัญหาเม็ดเลือดแดงแตกง่าย ก็ไม่ควรทานเช่นเดียวกัน เพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายกว่าเดิม อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นต้องกังวลมากเกินไป เพราะมะรุมถูกนำมาประกอบอาหารนานมากแล้ว หากทานในปริมาณที่เหมาะสม โดยปกติก็จะปลอดภัย ส่วนที่มีความเสี่ยงมักจะเป็นกลุ่มที่ทานมะรุมในรูปแบบอาหารเสริมมากกว่า

สมุนไพรลดความดัน - lemon grass
รูป สมุนไพร
  1. ตะไคร้ (Lemon Grass)

เป็นผักสวนครัวที่นิยมนำมาปรุงอาหารมาก ไม่ว่าจะใส่ในเครื่องแกง เครื่องต้มยำหรือนำมาต้มเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรก็ตาม จริงๆถ้าพูดถึงในแง่การเป็นสมุนไพร ตะไคร้จะเป็นที่รู้จักเพราะสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะและขับลมเสียมาก แต่อันที่จริงแล้วตะไคร้ก็มีคุณสมบัติช่วยลดความดันโลหิตได้เช่นเดียวกัน

สมุนไพรลดความดัน - ใบย่านาง
รูป สมุนไพร
  1. ใบย่านาง

เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยลดความกันโลหิต ลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจได้ ใบย่านางมีสรรพคุณทางยาค่อนข้างหลากหลาย ทั้งในด้านการรักษาโรคภัยและความสวยความงาม เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ใบย่านางจะถูกยกย่องให้เป็น “ยาอายุวัฒนะ”

สมุนไพรลดความดัน - มะกรูด
รูป สมุนไพร
  1. มะกรูด (Bergamot)

มะกรูดก็เป็นอีกหนึ่งผักสวนครัวที่สามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้เช่นกัน เพราะตำหรับยามากมายก็มักจะมีใบหรือผิวมะกรูดเป็นส่วนผสมอยู่เสมอ ในส่วนของการลดความดันโลหิต มะกรูดก็ช่วยได้เช่นเดียวกัน แต่ต้องใช้ใบ ไม่ใช่ผิว โดยนำใบมาต้มเป็นชาสำหรับดื่มอุ่นๆก็จะช่วยปรับความดันให้ลดลงมาได้

สมุนไพรลดความดัน - อบเชย
รูป สมุนไพร
  1. อบเชย (Cinnamon)

เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมหวานเป็นเอกลักษณ์ มีงานวิจัยบางชิ้นจากต่างประเทศพบว่าอบเชยช่วยลดความดันโลหิตได้ โดยการทำอบเชยผงมาชงกับน้ำแล้วดื่มเป็นประจำ นอกจากช่วยลดความดันแล้วยังช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย ใครที่ป่วยด้วยโรคทั้งสองนี้ ลองไปดื่มชาอบเชยกันดูได้เลย

ทำไมความดันสูงถึงน่ากลัว

โรคความดันโลหิตสูง จัดเป็น “โรคพื้นฐาน” ที่พบได้บ่อยมากในคนทั่วไป เพราะเป็นโรคที่เกิดได้เองตามอายุที่มากขึ้นถึงแม้จะไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงอะไรเลย แต่ก็สามารถป่วยได้เพราะแก่ตัวลงนี่เอง โรคความดันโลหิตสูงจัดเป็นโรคที่อยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคเบาหวาน เป็นต้น ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ข้อมูลจากปี พ.ศ.2556-2560 จากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณะสุข) พบว่าจากจำนวนประชากร 100,000 คน มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 14,926.47 คน เรียกว่าเป็นสัดส่วนกว่า 14% กันเลยทีเดียว

องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ฉายาของโรคความดันโลหิตสูงเอาไว้ว่า “ฆาตกรเงียบ” หรือ Silence Killer บางคนอาจจะรู้สึกสงสัยว่าโรคนี้น่ากลัวถึงขนาดเป็นฆาตกรเงียบได้เลยเชียวหรือ? โรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะสุขภาพที่ความดันในหลอดเลือดแดงสูงมากกว่าปกติ ส่วนใหญ่พบได้ในผู้สูงอายุ แต่บางคนก็ตรวจพบตั้งแต่วัยกลางคนแล้ว ซึ่งในกลุ่มหลังนี้จะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สะสมกันมาตั้งแต่เด็กเป็นหลัก แต่ว่าถึงแม้จะดูแลตัวเองเป็นอย่างดี แต่หลอดเลือดของมนุษย์จะเริ่มแข็งขึ้นไปเองตามธรรมชาติจากอายุที่เพิ่มขึ้น เมื่ออายุได้ 40 ขึ้นไป หลอดเลือดจะเริ่มยืดหยุ่นน้อยลง ความดันโลหิตจะเพิ่มสูงขึ้นเอง พูดง่ายๆคือถึงจะไม่ได้ละเลยสุขภาพ แต่ก็ยังมีโอกาสเป็นอยู่ดี ส่วนความน่ากลัวของโรคนี้อยู่ตรงที่จะไม่ค่อยปรากฏอาการผิดปกติ ผู้ป่วยมักไม่ค่อยรู้ตัวว่าตัวเองป่วย ทำให้ละเลยการดูแลตัวเองและไมได้ทานยาควบคุมความดัน ดังนั้นอาการของโรคก็จะพัฒนาไปเรื่อยจนเมื่อเข้าสู่ระยะรุนแรง จึงจะเริ่มมีอาการแสดงออกมาให้เห็น ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ผู้ป่วยจำนวนมากก็มีอาการหนักเกินกว่าจะรักษาได้เสียแล้ว ทำให้โรคความดันโลหิตสูงกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประชาชนชาวไทยไม่ต่างไปจากโรคหัวใจหรือมะเร็งเลยทีเดียว ถ้ายังมองไม่ออกว่าโรคนี้อันตรายอย่างไร ลองมาดูภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากโรคนี้กันดู

  • การมองเห็นแย่ลง ด้านหลังลูกตาเองมีหลอดเลือดขนาดเล็กโยงใยอยู่เป็นจำนวนมาก หากความดันสูง ความดันหลอดเลือดในลูกตาเองก็สูงไปด้วยได้เช่นเดียวกัน หากหลอดเลือดอุดตัน ตีบแคบจนเลือดไหลเวียนไม่สะดวก การมองเห็นจะแย่ลง แต่อาจจะยังพอมองเห็นภาพอยู่บ้าง แต่ถ้าหากอุดตันจนเลือดไหลเวียนไม่ได้หรือหลอดเลือดแตก อาจจะตาบอดได้เลยทีเดียว
  • สมองขาดเลือด ในกรณีที่หลอดเลือดอุดตันมาก การไหลเวียนเลือดจะแย่ลงมากจนมีโอกาสที่สมองจะขาดเลือดได้ เมื่อขาดเลือดก็จะขาดออกซิเจนและสารอาหารตามไปด้วย เนื้อสมองจึงถูกทำลาย ทำให้สูญเสียการทำงานของร่างกายในบริเวณที่ถูกควบคุมด้วยสมองส่วนนั้น ที่พบได้บ่อยเลยทีมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว การพูด อัมพฤกษ์ อัมพาต แต่บางคนก็อาจสูญเสียในส่วนของความทรงจำไปเลย นอกจากหลอดเลือดอุดตันแล้ว หากหลอดเลือดในสมองแตกก็ทำให้สมองขาดเลือดได้เช่นเดียวกัน
  • ไตวาย สาเหตุมาจากการตีบตันของหลอดเลือดขนาดเล็กในไต ทำให้ไตมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงและมีความผิดปกติเกิดขึ้น จนไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกรองของเสียอาจทำได้น้อยลงหรือทำไม่ได้อีกเลยจนทำให้ไตวายไปในที่สุด
  • หัวใจวาย กรณีนี้จะเกิดขึ้นหากหลอดเลือดแดงในหัวใจเกิดการอุดตัน ทำให้ขาดออกซิเจนและสารอาหาร กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนจึงตายไปทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • หัวใจล้มเหลว ความดันสูงเป็นผลมาจากหัวใจทำงานหนักเกินไปเพื่อสูบฉีดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากหัวใจทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะความเปลี่ยนแปลงขึ้น หัวใจจะกลายสภาพดูคล้ายกับยางที่ถูกยืดออกนานๆ ไม่สามารถคืนตัวได้และสูญเสียความยืดหยุ่น หัวจะโตและล้มเหลวได้

5 สมุนไพรช่วยความดันต่ำ

หากพูดถึงผลกระทบจากภาวะความดันต่ำนั้น หลายคนจะทราบว่ามันไม่รุนแรงเหมือนกับการป่วยด้วยโรคความดันสูง อาจจะมีหน้ามืด วิงเวียนศีรษะอยู่บ้าง แต่ลำพังตัวโรคเองไม่ได้อันตรายเท่าไรนัก แต่จะอันตรายถ้าเกิดเป็นลมหมดสติแล้วเกิดอุบัติเหตุเสียมากกว่า เพราะฉะนั้นต่อให้ไม่อันตราย แต่ถ้ารักษาความดันให้ขึ้นมาอยู่ในระดับปกติได้ก็จะดีต่อตัวเองมากกว่าแน่นอน เพราะฉะนั้นด้านบนพูดถึงสมุนไพรลดความดันกันไปแล้ว ตรงนี้ก็จะกล่าวถึงสมุนไพรช่วยเพิ่มความดันกันบ้าง ดังนี้

สมุนไพรลดความดัน - มะยม
รูป สมุนไพร
  1. ก้านและใบมะยม (Star Gooseberry)

หากมีอาการแต่ไม่ได้รุนแรงอะไรมาก ก้านและใบมะยมอาจช่วยได้ โดยนำมาต้มกับน้ำดื่ม ดื่มอุ่นๆทุกวันอาการจะค่อยๆดีขึ้นเอง เมื่อดีขึ้นแล้วก็หยุดดื่มและสามารถกลับมาต้มดื่มได้อีกเมื่อมีอาการ

สมุนไพรลดความดัน - sappan
รูป สมุนไพร
  1. ฝาง (Sappan)

มีสรรพคุณช่วยลดการอุดตันในหลอดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น ระบบไหลเวียนโลหิตทำได้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยปรับระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติแล้วยังช่วยลดความดันความได้เช่นเดียวกัน (สมุนไพรหลายชนิดไม่ได้ทำให้ความดันลดหรือเพิ่มแค่อย่างเดียว แต่มีสรรพคุณช่วยปรับความดันโลหิตให้อยู่ในสมดุลได้)

สมุนไพรลดความดัน - safflower-2423_1920
รูป สมุนไพร
  1. ดอกคำฝอย (Safflower)

มีคุณสมบัติหลายอย่างคล้ายฝาง เช่น ช่วยสลายลิ่มเลือด ลดการเหนียวของเลือด ช่วยขยายเส้นเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ความดันจะปรับขึ้นมาอยู่ในจุดที่สมดุลมากขึ้น

สมุนไพรลดความดัน - ผักเป็ดแดง calico plant
รูป สมุนไพร
  1. ผักเป็ดแดง (Calico Plant)

มีสรรพคุณช่วยฟอกเลือดให้สะอาดมากขึ้น บำรุงเลือดและลดการอุดตันในหลอดเลือด

สมุนไพรลดความดัน - Garden Cress
รูป สมุนไพร
  1. เทียนแดง (Garden Cress)

และฟอกและบำรุงเลือดเหมือนกับกับด้านบน ช่วยบรรเทาอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น ตามตำรายาไทยมีกล่าวไว้ว่าเป็นส่วนผสมในยาหอมอีกด้วย

ในขณะที่สมุนไพรลดความดันมักจะทานได้แบบเดี่ยวๆเลย แต่สมุนไพรสำหรับลดความดันกลับต้องทานพร้อมกันหลายตัวเพิ่มเสริมประสิทธิภาพและทอนฤทธิ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งใครมีปัญหาเป็นโรคความดันไม่ว่าต่ำหรือสูง สามารถนำสมุนไพรเหล่านี้ไปลองใช้กันดูได้ อย่างไรก็ตามขอแจ้งก่อนว่าถึงแม้สมุนไพรจะมีประโยชน์มหาศาล แต่ถ้าปรุงยาทานเอง เราอาจไม่ทราบขนาดของยาที่เหมาะสม แถมสมุนไพรบางชนิดมีข้อมูลการป้องกันโรคไม่มากนัก อาจไม่ทราบถึงประโยชน์หรือโทษอย่างแท้จริง ซึ่งถ้าขาดความรู้ก็อาจทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ เพราะฉะนั้นขอแนะนำเลยว่าถ้าความดันสูงในระดับที่เรียกว่าโรคได้แล้ว อยากให้ไปพบแพทย์แผนปัจจุบันก่อนเพื่อวินิจฉัยและทานยาลดความดันที่แพทย์จ่ายมาให้ ยาต้องทานอย่างสม่ำเสมอ ห้ามลด-เพิ่ม-เปลี่ยน-หยุดยาเองโดยเด็ดขาด ส่วนการใช้สมุนไพรสามารถใช้ควบคู่ไปกับการรักษาแผนปัจจุบันได้ แต่ถ้าไม่มั่นใจจะลองปรึกษาแพทย์ดูก่อนก็เป็นทางเลือกที่ดี สำหรับผู้ป่วยโรคความดันสูง นอกจากยาแล้ว อย่าลืมใส่ใจการกินการนอนและการออกกำลังกายด้วย เพราะถ้าทานยาอย่างสม่ำเสมอและดูแลสุขภาพตัวเองได้เป็นอย่างดีในทุกๆด้าน การรักษาก็จะสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น โรคความดันโลหิตสูงก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , , , , , , , ,