จิตแพทย์ หรือ สายด่วนสุขภาพจิต ที่ไหนดี คุณต้องรับคำปรึกษาไหม?

จิตแพทย์ สายด่วนสุขภาพจิต

เครียดบ่อย มีปัญหาเรื้อรัง มองไม่เห็นทางออก ห้ามเก็บปัญหาไว้คนเดียว และห้ามปล่อยตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าเด็ดขาด! หลายปัญหาสุขภาพจิต บางครั้งถูกแก้ไขได้ เพียงแค่มีคนรับฟังปัญหา และให้คำแนะนำ คำปรึกษา ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด พลิกแง่ลบเป็นแง่บวก แต่โดยปกติแล้ว บางปัญหาเราเลี่ยงที่จะไม่ปรึกษาคนใกล้ตัวด้วยเหตุผลบางอย่าง ฉะนั้นการมีผู้เชี่ยวชาญ เช่น หมอ นักจิตวิทยา หรือ จิตแพทย์ เข้ามาให้คำปรึกษาจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมและสมควรอย่างยิ่ง หากคุณสนใจอยากพบจิตแพทย์ แต่สงสัยว่าจะ พบจิตแพทย์ที่ไหนดี? ราคาเท่าไหร่? วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ สายด่วนกรมสุขภาพจิต โรงพยาบาล ศูนย์การแพทย์ และคลินิก ที่รวบรวม จิตแพทย์ เก่งๆ มาให้คุณแล้ว!

จิตแพทย์ ปรึกษา อาการเครียด
รูป อาการเครียด

อาการสุขภาพจิตแบบไหน ที่ควรเริ่มหันไปรับคำปรึกษาจาก จิตแพทย์

  • เครียด รู้สึกตัวเองไร้ค่า ซึมเศร้า

อาการเครียดนั้นจริงๆแล้วเกิดขึ้นกับเราทุกคน แต่หากความเครียดนั้นเกิดขึ้นบ่อย จมปลักกับเราอยู่นาน เริ่มรู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ท้อแท้ เริ่มด่าทอตัวเอง มีอาการซึมเศร้า ปวดหัวบ่อยขึ้น เราควรรีบไปพบจิตแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาโดยด่วน ก่อนที่สุขภาพจิตจะเสียจนนำพาโรคภัยต่างๆมากมายเข้าตัว

  • นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร

อาการนอนไม่หลับ นาฬิกาชีวิตเปลี่ยนไป ปริมาณมื้อและอาหารที่รับประทานน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับคุณเป็นระยะเวลานาน ก็ควรพิจารณารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์โดยไว

  • วิตกกังวล หวาดกลัวอย่างรุนแรง

หากคุณคิดมากขึ้น คิดเรื่อยเปื่อยโดยเฉพาะการคิดในแง่ลบ เริ่มหวาดระแวง กลัวกับอนาคตที่ยังไม่เกิด หากเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาหนึ่งก็ควรลองไปรับคำปรึกษาจาก จิตแพทย์

  • ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยผิดปกติ

ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย อาจเป็นนิสัยของเรา แต่หากการใช้จ่ายมากหรือถี่ขึ้นกว่าปกติเยอะ อาจแสดงว่าเรากำลังมีความเครียดทับถมอยู่ก็เป็นได้ เพราะการใช้จ่ายเพื่อซื้อของที่เราอยากได้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เราใช้บรรเทาความเครียด ดังนั้นเราควรหันมาใช้บริการจิตแพทย์ก่อนเงินจะหมดกระเป๋านะ

  • ตื่นกลัว เริ่มเห็นภาพหลอน ฝันร้าย

หากสังเกตุว่าตนเองเริ่มมีอาการ ตื่นกลัว หรือเห็นอะไรแปลกๆอยู่คนเดียว อาจแสดงว่าเราเริ่มมีอาการหลอนทางประสาท และเราควรรีบไปรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ทันที

  • เริ่มเกิดอาการไม่เอาใจใส่ตนเอง

การไม่ใส่ใจตนเองในที่นี้ หมายถึง การไม่ดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันอย่างที่เคยเป็น เช่น ปกติเราอาบน้ำ เช้า-เย็น กลับกลายเป็นเพียงแค่อาบน้ำแค่เช้า หรือ เย็นเท่านั้น หรือ เรารับประทานของหวานมากขึ้นในตอนกลางคืน สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกเราว่าควรไปพบจิตแพทย์ได้แล้วหรือไม่

  • บุคลิกภาพเปลี่ยนไป

หากปกติเราเป็นคนตลก แต่แล้ววันหนึ่งเสียงหัวเราะ มุขที่เคยเล่นระหว่างบทสนทนาหายไป คิดไม่ออก หรือ ปกติเราเป็นคนยิ้ม ร่าเริง ชอบเข้าหาคน กลับกลายเป็นคนเก็บตัว ไม่ยิ้ม ขี้เกียจคุย การที่บุคลิกภาพเปลี่ยนไปนั้นอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ แต่หนึ่งในสาเหตุนั้น คือ ความเครียดและวิตกกังวล ดังนั้นหากเราไม่มั่นใจในสาเหตุที่เปลี่ยนไปของบุคลิกภาพของเรา การปรึกษาขิตแพทย์นั้นก็เป็นทางออกของปัญหาที่ดี

  • ย้ำคิดย้ำทำ

ย้ำคิดย้ำทำ ในที่นี้คือการที่ทำอะไรซ้ำๆ หรือคิดเรื่องเดิมๆซ้ำๆอย่างไม่มีเหตุผล อาการนี้อาจเกิดขึ้นเพราะความวิตกกังวล เครียด หวาดกลัว จนทำให้เราระวังตัวมากเกินไป และมีความคิดที่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป

  • พึ่งสุรามากขึ้นหรือติดสารเสพติด

หลายคนเมื่อพบปัญหารุมเร้ามักเลือกใช้ สุรา หรือ สารเสพติด เป็นทางออกของปัญหา เราใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อความสนุก เพื่อลืม เพื่อปลดปล่อย ระบายความทุกข์ ความเครียดในใจออกมาเพียงชั่วขณะหนึ่ง หากเรากำลังมีพฤติกรรมการเพิ่งสุรา หรือ สารเสพติด เพื่อแก้ไขปัญหา พฤติกรรมเหล่านี้อาจดูปกติในสังคมเรา แต่พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้ช่วยสุขภาพจิตและสุขภาพกายแต่อย่างใด ดังนั้นหนึ่งในทางออกที่ดีที่สุดคือปรึกษาจิตแพทย์

ตรวจสอบความเครียดของคุณด้วยตัวคุณเอง

คลิกลิ้งค์เพื่อตรวจสอบความเครียดกับ OOCA :https://app.ooca.co/user/stress-test

การพบ จิตแพทย์ เป็นเรื่องน่าอาย และเสียประวัติ จริงไหม?

คำตอบ คือ ไม่เสียประวัติ โดยการยืนยันจากสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยว่า ประวัติคนไข้เป็นความลับไม่สามารถนำมาเปิดเผยได้ หากไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของประวัติเอง ทั้งนี้ทั้งนั้น การพบจิตแพทย์ไม่ได้หมายว่า “คุณบ้า” หรือเป็นเรื่องน่าอาย สิ่งเหล่านี้คือความเชื่อผิดๆที่ถูกถ่ายทอดมาในสังคมไทย การไปพบ จิตแพทย์ คือการพูดคุยปัญหาทางจิต รักษาโรคทางใจ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจลุกลามทำให้เกิดโรคอื่นๆมากมายตามมาได้

7 ที่ปรึกษาปัญหาชีวิต ความรัก ครอบครัว สุขภาพจิต กับ จิตแพทย์

สายด่วนจิตแพทย์ 1323

  • สายด่วนสุขภาพจิต 1323

สายด่วนสุขภาพจิต 1323 คือ หนึ่งในหน่วยงานที่มีจิตแพทย์ให้บริการให้คำปรึกษาที่เป็นที่นิยมที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากค่าบริการ ฟรี และเป็นการบริการจากกรมสุขภาพจิตโดยตรง ซึ่งมีนักจิตวิทยามากกว่า 30 ท่าน หมุนเวียนมาให้บริการผู้มีปัญหาทางใจ แก้ไขความเครียด ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้ทั้งนั้นเนื่องจากสายด่วนสุขภาพจิต 1323 นั้นให้บริการฟรี จึงมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากทั้งทางโทรศัพท์และออนไลน์ ดังนั้นหากคุณได้มีโอกาสติดต่อเข้าไปในช่องทางใดก็ตาม อาจจะต้องให้เวลากับทางกรมสายด่วนสุขภาพจิตด้วย

ราคาค่าปรึกษา : ฟรี

รับคำปรึกษาจาก สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

โทร : 1323 (24 ชั่วโมง)

ติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ : Facebook (17.00 – 22.00 น.)

พบจิตแพทย์ที่ไหนดี Samaritans of Thailand

  • สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย (Samaritans Thailand)

สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย คือ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร มีอาสาสมัครจากหลากอาชีพ ที่ถูกอบรมและฝึกฝนทักษะการฟังด้วยใจ (Active Listening) คอยรับฟังปัญหาและให้คำปรึกษาแก่คุณ สะมาริตันส์ให้บริการรับฟังและให้คำปรึกษา ฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

ราคาค่าปรึกษา : ฟรี

รับคำปรึกษาจาก Samaritans Thailand ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

โทร :
กรุงเทพ : 02-713-6793 (12.00 – 22.00 น.)
Bangkok English Line : 02-713-6791
เชียงใหม่ : 053-225-977 – 78 (19.00 – 22.00 น.)

ติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ : Facebook // Website

พบจิตแพทย์ที่ไหนดี Center for Psychological Wellness

  • ศูนย์สุขภาวะทางจิต จุฬาฯ (Center for Psychological Wellness)

ทุกสถานะ ทุกเพศ ทุกวัยนั้นมีโอกาสเครียดและมีปัญหาเหมือนๆกัน ฉะนั้น คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จึงก่อตั้งศูนย์สุขภาวะทางจิต ขึ้นมา เพื่อให้คำปรีกษาเหล่านักศึกษาวัยเรียนในรั้วจุฬาฯแบบ ฟรีๆ คนทั่วไปก็มีสิทธิสามารถติดต่อขอใช้บริการ รับคำปรึกษาได้เช่นกัน แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการบริการแต่ก็ถือว่าถูกกว่าผู้ให้บริการอื่นๆเมื่อเทียบกัน

ราคาค่าปรึกษา : 800 ต่อ 60-90 นาที

รับคำปรึกษาจาก Center for Psychological Wellness ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

โทร : 02-218-1171, 02-218-0336 (จันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 17.00 น.)
อีเมล : [email protected]

ติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ : Facebook // Website

ที่อยู่ : ชั้น 5 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ แขวง วังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
(คลิกเพื่อดูแผนที่)

พบจิตแพทย์ที่ไหนดี OOCA

  • อูก้า (OOCA)

อูก้า คือ แพลทฟอร์มที่คุณสามารถปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาออนไลน์ คุณสามารถพูดคุยปัญหากับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาได้ผ่านวีดีโอ (Video Call) โดยเข้าใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ หรือ ผ่านเว็บไซต์บนคอมพิวเตอร์ คุณสามารถเลือกที่จะรับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยา หรือ จิตแพทย์ ซึ่งความต่างของ 2 ผู้เชี่ยวชาญนี้ คือ ความเชี่ยวชาญในการประเมินอาการ วินิจฉัย และให้แนวทางการรับมือ บำบัด กายภาพต่อไป

ราคาค่าปรึกษา :
นักจิตวิทยา : 1,000 บาท ต่อ 30 นาที

จิตแพทย์ : 1,500 บาท ต่อ 30 นาที

รับคำปรึกษาจาก OOCA ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

โทร : 090-004-0006
อีเมล : [email protected]

ติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ : Facebook // Website

ดาวน์โหลดแอพลิเคชั่น:
IOS : https://www.ooca.co/ios Android : https://www.ooca.co/android

พบจิตแพทย์ที่ไหนดี Relationflip

  • Relationflip

Relationflip คือ เว็บไซต์ที่รวบรวมนักจิตวิทยาที่แสดงถึงประวัติต่างๆ เช่น ประวัติการทำงาน การศึกษาของนักจิตวิทยา ให้ผู้ขอรับคำปรึกษาได้มีโอกาสเลือกนักจิตวิทยาที่เหมาะสมที่สุดในการให้คำปรึกษาปัญหาของผู้รับคำปรึกษาเผชิญอยู่ ซึ่ง Relationflip นั้นมีผู้เชี่ยวชาญมากมายหลายแขนง เช่น ปัญหาทั่วไปรอบตัว ปัญหาชีวิต ปัญหาความรัก ปัญหาการทำงาน การจัดการความสัมพันธ์ และอื่นๆ

ราคาค่าปรึกษา : 1,000 บาท ต่อ 60-90 นาที

รับคำปรึกษาจาก Relationflip ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

โทร : 099-002-6888 (8.00 – 18.00 น.)
อีเมล : [email protected]

ติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ : Facebook // Website

พบจิตแพทย์ที่ไหนดี Istrong

  • iStrong

iStrong คือ แหล่งรวมนักจิตวิทยา นักจิตบำบัด และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาคนและการใช้ชีวิต ที่มีใบรับรองและใบประกอบวิชาชีพคอยให้บริการผู้รับคำปรึกษา โดยที่ผู้รับคำปรึกษาจะอยู่ประเทศไหนก็ได้ สามารถรับคำปรึกษาได้ตลอดตราบใดที่มีโทรศัพท์ ซึ่งประเด็นปัญหาที่ iStrong มีความโดดเด่นก็คือ ความสัมพันธ์พ่อแม่กับลูกวับรุ่น การเลี้ยงและการปรับพฤติกรรมลูก ปัญหาคู่รัก ความสัมพันธ์ โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า ความเครียด ความรู้สึกไร้ค่า ไม่รักตัวเอง วิตกกังวล

ราคาค่าปรึกษา : 1,800 บาท ต่อ 60 นาที

โปรโมชั่นค่าปรึกษาผ่านโทรศัพท์ :

900 บาท ต่อ 30 นาที
1,400 บาท ต่อ 60 นาที
2,700 บาท ต่อ 120 นาที

โปรโมชั่นค่าปรึกษาแบบพบกันตัวต่อตัว :
4,000 บาท ต่อ 60 นาที
7,500 บาท ต่อ 120 นาที

รับคำปรึกษาจาก Relationflip ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

อีเมล : [email protected]
ติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ : Line // Facebook // Website

พบจิตแพทย์ที่ไหนดี OneManCounselor

  • One Man Counselor

One Man Counselor คือ การรับคำปรึกษาแบบพบตัวหรือออนไลน์โดยตรงจาก ดร.สุววุฒิ วงศ์ทางสวัสดิ์ นักจิตวิทยาผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า 12 ปี ในการรับฟังปัญหาชีวิตเพื่อหาสาเหตุ ต้นตอของปัญหา และวินิจฉัยเพื่อให้คำปรึกษา คำแนะนำที่ปรับวิธีการคิด เปลี่ยนแนวทางการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น

ราคาค่าปรึกษา :
การปรึกษารายบุคคล (Individual Counseling)

– พบตัว / วิดีโอคอล / โทร ครั้งละ 2,000 บาท ต่อ 60-90 นาที

– แชท (พิมพ์) ครั้งละ 1,300 บาท ต่อ 60-90 นาที

การปรึกษาแบบคู่ ซึ่งมีปัญหาระหว่างกัน (Couple Counseling)

– พบตัว / วิดีโอคอล ครั้งละ 3,000 บาท ต่อ 120 นาที

รับคำปรึกษาจาก One Man Counselor ได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

LINE : onemancounselor
อีเมล : [email protected]

ติดต่อผ่านช่องทางออนไลน์ : Facebook // Website

จิตแพทย์ ปรึกษา โรงพยาบาล

โรงพยาบาลในประเทศไทยที่มีจิตแพทย์ให้การบริการ

โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

รัฐบาล

  1. โรงพยาบาลกลาง
  2. โรงพยาบาลรามาธิบดี
  3. โรงพยาบาลราชวิถี
  4. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  5. โรงพยาบาลตากสิน
  6. โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
  7. โรงพยาบาลศิริราช
  8. โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ
  9. โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  10. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  11. โรงพยาบาลศรีธัญญา
  12. โรงพยาบาลตำรวจ
  13. โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (รับเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งของรพ.)
  14. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
  15. โรงพยาบาลภูมิพลอดุยเดช
  16. โรงพยาบาลมเหสักข์
  17. โรงพยาบาลสงฆ์
  18. โรงพยาบาลพร้อมมิตร (รพ.บ้านแพ้ว สาขาพร้อมมิตร)
  19. โรงพยาบาลสมุทรสาคร
  20. โรงพยาบาลเลิดสิน
  21. โรงพยาบาลนครปฐม
  22. โรงพยาบาลปทุมธานี
  23. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
  24. คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
  25. ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (รพ.ชลประทาน จ.นนทบุรี)
  26. ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ
  27. ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง
  28. ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง
  29. ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา
  30. ศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน
  31. ศูนย์บริการสาธารณสุข 33 วัดหงส์รัตนาราม
  32. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  33. สถาบันประสาทวิทยา
  34. สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
  35. สถาบันธัญญารักษ์ (สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี)
  36. สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ

เอกชน

  1. โรงพยาบาลกรุงเทพ
  2. โรงพยาบาลปิยะเวท
  3. โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
  4. โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท
  5. โรงพยาบาลนวมินทร์ 1
  6. โรงพยาบาลนวมินทร์ 9
  7. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น
  8. โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  9. โรงพยาบาลเทพธารินทร์
  10. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  11. โรงพยาบาลไทยนครินทร์
  12. โรงพยาบาลคามิลเลียน
  13. โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  14. โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์
  15. โรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล
  16. โรงพยาบาลธนบุรี
  17. โรงพยาบาลนครธน
  18. โรงพยาบาลนนทเวช
  19. โรงพยาบาลบางนา 1
  20. โรงพยาบาลบางนา 2
  21. โรงพยาบาลบางโพ
  22. โรงพยาบาลบางมด
  23. โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
  24. โรงพยาบาลประชาพัฒน์ (เดิมชื่อ รพ.นวมินทร์ 2)
  25. โรงพยาบาลปิยะมินทร์ สมุทรปราการ
  26. โรงพยาบาลบีแคร์
  27. โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
  28. โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
  29. โรงพยาบาลเปาโล สะพานควาย
  30. โรงพยาบาลพญาไท 1
  31. โรงพยาบาลพญาไท 2
  32. โรงพยาบาลพญาไท 3
  33. โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
  34. โรงพยาบาลพระราม 2
  35. โรงพยาบาลพระราม 9
  36. โรงพยาบาลเพชรเวช
  37. โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
  38. โรงพยาบาลภัทรธนบุรี
  39. โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
  40. โรงพยาบาลมนารมย์
  41. โรงพยาบาลเมโย
  42. โรงพยาบาลรามคำแหง
  43. โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ
  44. โรงพยาบาลลาดพร้าว
  45. โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
  46. โรงพยาบาลวิภาราม (นนทบุรี)
  47. โรงพยาบาลวิภาวดี
  48. โรงพยาบาลเวชธานี
  49. โรงพยาบาลศิครินทร์
  50. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  51. โรงพยาบาลศรีวิชัย1
  52. โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
  53. โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
  54. โรงพยาบาลสายไหม
  55. โรงพยาบาลสินแพทย์
  56. โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์ (เดิมชื่อ รพ.กรุงธน 2)
  57. โรงพยาบาลหัวเฉียว
  58. โรงพยาบาล World Medical Center

โรงพยาบาลในต่างจังหวัดทั้งรัฐบาลและเอกชน

ภาคเหนือ

  1. โรงพยาบาลจอมทอง จ.เชียงใหม่
  2. โรงพยาบาลน่าน
  3. โรงพยาบาลแพร่
  4. โรงพยาบาลลำปาง
  5. โรงพยาบาลเชียงใหม่-ราม (เอกชน)
  6. โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่
  7. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ เชียงใหม่
  8. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลสวนดอก)
  9. โรงพยาบาลสวนปรุง (จ.เชียงใหม่)
  10. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  11. โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์ (เอกชน) จ.เชียงราย
  12. โรงพยาบาลลำพูน
  13. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ แม่ฮ่องสอน
  14. โรงพยาบาลสุโขทัย
  15. โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
  16. สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ (จ.เชียงใหม่)

ภาคตะวันตก

  1. โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา (จ.กาญจนบุรี)
  2. โรงพยาบาลแม่สอด (จ.ตาก)
  3. โรงพยาบาลหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
  4. โรงพยาบาลราชบุรี
  5. โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (จ.ตาก)
  6. โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี
  7. โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จ.เพชรบุรี
  8. โรงพยาบาลนภาลัย (เดิมชื่อ รพ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม)
  9. โรงพยาบาลบ้านโป่ง จ.ราชบุรี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. โรงพยาบาลครบุรี (จ.นครราชสีมา)
  2. โรงพยาบาลค่ายสุรนารี (จ.นครราชสีมา)
  3. โรงพยาบาลเทพรัตน์ (จ.นครราชสีมา)
  4. โรงพยาบาลปากช่อง (จ.นครราชสีมา)
  5. โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น
  6. โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์
  7. โรงพยาบาลชัยภูมิ
  8. โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์
  9. โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  10. โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ (จ.อุบลราชธานี)
  11. โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  12. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  13. โรงพยาบาลศรีสะเกษ
  14. โรงพยาบาลมหาสารคาม
  15. โรงพยาบาลยโสธร
  16. โรงพยาบาลสกลนคร
  17. โรงพยาบาลสุรินทร์
  18. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ภาคกลาง

  1. โรงพยาบาลกำแพงเพชร
  2. โรงพยาบาลนครสวรรค์
  3. โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์
  4. โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช (จ.สุพรรณบุรี)
  5. โรงพยาบาลพระพุทธบาท (จ.สระบุรี)
  6. โรงพยาบาลพิจิตร
  7. โรงพยาบาลพุทธชินราช (จ.พิษณุโลก)
  8. โรงพยาบาลอานันทมหิดล (จ.ลพบุรี)
  9. โรงพยาบาลสระบุรี
  10. โรงพยาบาลนครนายก
  11. โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช
  12. โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ (จ.นครสวรรค์)
  13. โรงพยาบาลสิงห์บุรี
  14. โรงพยาบาลอ่างทอง
  15. ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จ.นครนายก)

ภาคตะวันออก

  1. โรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา
  2. โรงพยาบาลกรุงเทพ ระยอง
  3. โรงพยาบาลระยอง
  4. โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา
  5. โรงพยาบาลพระปกเกล้า (จ.จันทบุรี)
  6. โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์
  7. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (จ.ปราจีนบุรี)
  8. โรงพยาบาลชลบุรี
  9. โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา
  10. โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ (จ.ชลบุรี)
  11. โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา (จ.ชลบุรี)
  12. โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี
  13. โรงพยาบาลบางละมุง จ.ชลบุรี
  14. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ภาคใต้

  1. โรงพยาบาลกรุงเทพ สมุย
  2. โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่
  3. โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์
  4. โรงพยาบาลตะกั่วป่า (จ.พังงา)
  5. โรงพยาบาลท่าศาลา (จ.นครศรีธรรมราช)
  6. โรงพยาบาลทุ่งสง (จ.นครศรีธรรมราช)
  7. โรงพยาบาลปัตตานี
  8. โรงพยาบาลพัทลุง
  9. โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต
  10. โรงพยาบาลศูนย์ตรัง
  11. โรงพยาบาลสงขลา
  12. โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
  13. โรงพยาบาลยะลา
  14. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลา (เกาะยอ)
  15. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ปัตตานี
  16. โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
  17. โรงพยาบาลราษฏร์ยินดี (จ.สงขลา)
  18. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  19. โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ (จ.สุราษฎร์ธานี)
  20. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หากคุณมีอาการที่กล่าวมาด้านบนเป็นระยะเวลาสักพักหนึ่งแล้ว และได้ทำการยืนยันความเครียดด้วยการทำแบบทดสอบเป็นที่เรียบร้อย เราหวังว่าคุณจะไม่ลังเลที่จะเลือกรับคำปรึกษา จิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยา นะ เพราะผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นพร้อมที่จะรับฟังปัญหาของคุณและจะช่วยบรรเทาปัญหาของคุณได้อย่างแน่นอน!

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , , , , , , , , , , ,