ของเล่น และ วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็กช่วง 1 ปีแรก

วิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ของเล่นเด็ก

พัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงขวบปีแรก นับว่าเป็นปีทองของพัฒนาการเลยก็ว่าได้ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะมองเห็นได้เพียงในระยะ 8-10 นิ้ว และยังไม่เห็นรายละเอียดของสิ่งๆ นั้นด้วยก็ตาม แต่หากเรามีตัวช่วยที่ดีก็สามารถส่งเสริมพัฒนาการของพวกเขาได้ไม่ยาก

พัฒนาการตามวัยและของเล่นที่เหมาะสม

การพัฒนาการเด็ก ของเล่นเด็ก 02
รูป วิธีส่งเสริมการพัฒนาเด็ก

นอกจากการดูแลเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่แล้ว ของเล่นที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุก็นับเป็นตัวช่วยที่ดี ที่มีบทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยให้เป็นไปตามวัย โดยของเล่นส่วนใหญ่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการในด้านร่างกาย ทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และกล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันเลย

ช่วงอายุ พัฒนาการตามวัย ของเล่นที่เหมาะสม
แรกเกิด – 1 เดือน
  • มองตามวัตถุได้ 90 องศา
  • กำนิ้วมือได้ชั่วครู่
  • มีสีสันสดใส วางห่างจากเด็กประมาณ 1 ฟุต เพื่อล่อให้มองตาม เช่น โมบายตุ๊กตา
1 – 2 เดือน
  • ขนาดเหมาะมือให้เด็กกำ
  • มีเสียง หรือเขย่าให้เกิดเสียง โดยคุณพ่อคุณแม่
2 – 3 เดือน
3 – 4 เดือน
  • กำมือได้ดี
  • เอามือ หรือของเล่นเข้าปาก
  • มองตามวัตถุได้ 180 อาศา
  • ของเล่นที่มีเสียงให้เด็กกำหรือเขย่า
  • (เป็นยาง หรือผ้านิ่มที่ไม่มีของอันตรายต่อเด็ก เช่น กระดุม)
5 – 6 เดือน
  • คว้าสิ่งของ
  • เขย่าของเล่นได้
  • ของเล่นมีเสียงให้เขย่า
  • บล็อกไม้สีสดใสขนาด 1*1 นิ้ว
  • กระจกส่องเงาตัวเอง
7 – 9 เดือน
  • หยิบของด้วยนิ้วหลายนิ้ว
10 – 12 เดือน
  • หยิบของด้วยนิ้ว 2 นิ้ว
  • จับดินสอขีดเขียน
  • นิ้วแหย่ตามช่วง/รู
  • หนังสือภาพ
  • ดินสอ กระดาษ
  • สมุดผ้าแบบมีเสียง

วิธีเลือกของเล่นให้เด็กเล็ก

ในการเลือกของเล่นให้ลูกสักชิ้น ควรคำนึงถึงลักษณะของของเล่นด้วย โดยลักษณะของเล่นที่เหมาะสม ได้แก่

  • สีสันสดใส
  • เคลื่อยไหวได้
  • มีเสียง
  • ผิวไม่หยาบ
  • ไม่มีมุมแหลม
  • ทำความสะอาดได้ง่าย
  • มีขนาดพอเหมาะ เด็กสามารถกำได้ แต่ไม่เล็กเกินไป
  • ไม่เป็นอันตราย

วิธีส่งเสริมการพัฒนาการเด็กทารก

การพัฒนาการเด็ก ของเล่นเด็ก 01
รูป วิธีส่งเสริมการพัฒนาเด็ก

แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าการเลือกของเล่น คือ การได้รับการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่ เพราะคุณพ่อคุณแม่มีผลต่อพัฒนาการลูกน้อยในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย(กล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก) ด้านอารมณ์สังคม ด้านภาษา และด้านสติปัญญา โดยจะขอแนะนำวิธีการส่งเสริมเป็นด้านๆ ไป ดังนี้

  1. ด้านร่างกาย: กล้ามเนื้อมัดใหญ่

ช่วงอายุ การส่งเสริมพัฒนาการ
0 – 1 เดือน
  • จัดให้นอนหลายๆ ท่า เช่น นอนคว่ำ นอนตะแคง
3 เดือน
  • จับนอนคว่ำ อาจใช้ของเล่นล่อให้ยกคอขึ้น
  • อุ้มนั่ง โดยให้หลังเด็กพิงผู้อุ้ม
3 – 4 เดือน
  • ใช้ของเล่นล่อให้เด็กหัดพลิกตัว (อาจช่วยดันให้ช่วงแรก)
5 – 6 เดือน
  • วางของเล่นห่างจากเด็ก กระตุ้นให้เอื้อมหยิบ
  • จับเด็กนั่งบนโซฟา หรือเก้าอี้เด็ก
7 เดือน
  • ฝึกให้เด็กเล่นของเล่นบนโต๊ะเตี้ย (คอยเฝ้าระวัง)
8 – 9 เดือน
  • วางของเล่นห่างจากเด็ก กระตุ้นให้คลานไปหยิบ
  • วางของเล่นบนโต๊ะที่เด็กยืนเกาะได้ กระตุ้นให้เด็กลุกขึ้น
10 – 12 เดือน
  • พาจูงมือเดิน
  • ให้เด็กเดินเกาะตามเฟอร์นิเจอร์
  • เรียกให้ก้าวเล็กๆ เดินมาหา
  1. ด้านร่างกาย: กล้ามเนื้อมัดเล็ก

ช่วงอายุ การส่งเสริมพัฒนาการ
0 – 3 เดือน
  • เอียงคอซ้ายไปขวา(ขวาไปซ้าย)ช้าๆ ขณะอุ้มเด็ก กระตุ้นการมอง
  • ให้กำของเล่นขนาดพอดีมือ
3 – 4 เดือน
5 – 6 เดือน
  • ให้กำของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียง
  • ให้เด็กหัดคว้าของเล่น
7 – 9 เดือน
  • ฝึกให้หยิบของเล่นมาเคาะกัน
10 – 12 เดือน
  • ฝึกหยิบของใส่/ออกจากตะกร้า
  • จับดินสอขีดเขียน
  1. ด้านภาษา

ช่วงอายุ การส่งเสริมพัฒนาการ
0 – 1 เดือน
  • พูดคุยเบาๆ ด้วยน้ำเสียงอ่อนโยน
  • พูดคุยเวลาทำกิจกรรมร่วมกัน
  • ร้องเพลงกล่อมก่อนนอน
  • เปิดเพลงเบาๆ ให้ฟัง
1 – 2 เดือน
3 – 4 เดือน
5 – 6 เดือน
  • พูดคุยด้วยคำง่ายๆ เป็นคำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่
  • เรียกชื่อเด็ก พูดคุยกับเขาบ่อยๆ
7 – 9 เดือน
  • เปล่งเสียงคำง่ายๆ ให้เขาเลียนแบบตาม เช่น พ่อ แม่
  • เรียกชื่อเด็ก พูดคุยกับเขาบ่อยๆ
  • อ่านนิทานให้ฟัง
10 – 12 เดือน
  • เรียกชื่อสิ่งรอบๆ ตัวให้ฟัง
  • สอนให้เปล่งเสียงบอกความต้องการ
  • เริ่มออกคำสั่งง่ายๆ กับเด็ก
  • อ่านนิทาน ร้องเพลงให้ฟัง
  1. ด้านอารมณ์ และสังคม

ช่วงอายุ การส่งเสริมพัฒนาการ
0 – 3 เดือน
  • กอด อุ้ม สบตา และพูดคุยด้วยบ่อยๆ
3 – 4 เดือน
5 – 6 เดือน
  • กอด อุ้ม สบตา และพูดคุยกับเด็กเวลาทำสิ่งต่างๆ ให้
  • ให้เด็กส่องกระจกเล่นกับเงาตัวเอง
  • ฝึกให้เด็กเอามือจับขวดนมขณะดูดนม
7 – 9 เดือน
  • ฝึกให้ดื่มน้ำจากแก้ว
  • ฝึกให้หยิบขนมรับประทานเอง
  • พาไปพบปะผู้คนแปลกหน้า
  • เล่นจ๊ะเอ๋, บ๊ายบาย
10 – 12 เดือน
  • ให้ดื่มน้ำจากแก้ว
  • ฝึกใช้ช้อนตักอาหาร
  • บอกให้ยกแขน ขา เวลาแต่งตัว
  1. ด้านสติปัญญา

ช่วงอายุ การส่งเสริมพัฒนาการ
0 – 6 เดือน
  • ฝึกให้เด็กรับสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ปาก และสัมผัส
6 – 12 เดือน
  • เล่นซ่อนหา
  • ฝึกให้สัมผัสสิ่งที่มีรูปร่างหลากหลาย หรือมีผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน

จากข้อมูลที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของลูกน้อยสามารถส่งเสริมได้ด้วยการเอาใจใส่จากพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดู โดยมีของเล่นเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกน้อยก็คงหนีไม่พ้นอ้อมกอดอุ่นๆ จากคุณพ่อและคุณแม่ ที่เป็นเกาะป้องกันให้ลูกน้อยเอาไว้รู้สึกปลอดภัย

ที่มาของข้อมูล

ผศ.ฉันทิกา จันทร์เปีย, พัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กช่วงขวบปีแรก (http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/PN/TH/article/พัฒนาการเด็ก/พัฒนาการและการส่งเสริมพัฒนาการ.pdf ), 26 กุมภาพันธ์ 2553

ผศ.สมพร สุนทราภา, การเล่นในเด็กอายุ 0-1 ปี (http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/PN/TH/article/พัฒนาการเด็ก/การเล่นในเด็ก1ปี.pdf ), 26 กุมภาพันธ์ 2553

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , , , , ,