สัญญาเงินกู้ คืออะไร | ทำไมต้องทำ วิธีทำ ตัวอย่างให้โหลด

สัญญาเงินกู้

เรื่องราวของการยืมเงินมักเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและสามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันของเราได้ทั่วไป ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้จะไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นเลยหากทั้งสองฝ่ายที่กู้ยืมเงินกันนั้นใช้เงินคืนอย่างถูกต้อง ซึ่งแน่นอนว่าในการกู้ยืมเงิน หากมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ทำตามกฎตามที่ได้ตกลงกันเอาไว้ในตอนแรก เช่น คืนเงิน ฝ่ายที่เป็นเจ้าของเงินก็จะต้องดำเนินการทางกฎหมาย และแน่นอนว่าหากเราไม่มีสัญญาเงินกู้การดำเนินเรื่องในขั้นตอนนี้ก็จะกลายมาเป็นความยุ่งยากอย่างที่ทุกท่านคาดไม่ถึงเลยทีเดียว และในบทความนี้เราก็จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกันกับสัญญาเงินกู้กันว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร และขั้นตอนในการทำต้องมีอะไรบ้าง ถ้าทุกท่านพร้อมแล้วเราก็มาทำความรู้จักสัญญาเงินกู้ไปพร้อมกันเลย

สัญญาเงินกู้ คืออะไร?

ก่อนจะมารู้จักกับสัญญาเงินกู้เราก็จะมาทำความรู้จักกับเงินกู้กันก่อน การกู้ยืมเงินตามที่หลายคนเข้าใจก็มักจะคิดว่าจำเป็นต้องไปกู้กับสถาบันการเงินหรือธนาคารเพียงอย่างเดียว แท้ที่จริงแล้วการกู้ยืมเงินหากมีจำนวนตั้งแต่ 2000บาทขึ้นไป และมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยอยู่ภายใต้ที่กฎหมายกำหนด การกู้ยืมนี้ก็ถือเป็นการกู้เงินเงินได้ในทันที ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือจะยืมจากเพื่อนก็นับเป็นการกู้ยืมเงินได้เช่นกัน มาถึงตรงนี้หลายท่านก็คงกำลังสงสัยกันอยู่ว่าแล้วสัญญากู้เงินนั้นคืออะไร สัญญาเงินกู้คือหลักฐานประกอบการกู้อย่างหนึ่งที่เป็นเอกสารที่สามารถยืนยันได้ว่าองค์กรหรือคน ๆ หนึ่งได้ทำสัญญาว่ากู้ยืมเงินกันมาเป็นจำนวนเท่าไหร่ในอัตราดอกเบี้ยยังไง เพื่อให้ทั้งผู้กู้และผู้ที่ให้กู้ได้สบายใจว่าหากมีผู้ใดผู้หนึ่งกระทำผิดตามที่ได้ตกลงในสัญญา อีกฝ่ายก็มีสิทธิ์ที่จะดำเนินการตามกฎหมายในทันที ซึ่งสัญญาเงินกู้จะมีผลบังคับใช้ได้ทันทีเมื่อผู้ทำสัญญาทั้งสองตกลงลงนามยินยอมลงไปในสัญญา

ทำไมต้องทำ สัญญาเงินกู้?

มาถึงตรงนี้หลายท่านก็คงพอจะเข้าใจกันแล้วว่าสัญญาเงินกู้คืออะไร แต่หลายท่านก็คงจะยังมีความสงสัยอยู่ดีว่าทำไมต้องทำสัญญาเงินกู้ด้วย ในเมื่อต่างฝ่ายต่างตกลงกันได้เองอยู่แล้ว ซึ่งถ้าหากท่านจะมองแบบนั้นก็คงจะไม่ผิดเสียทีเดียว แต่ถ้าหากลองคิดในมุมกลับกันว่าหากมีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำผิดสัญญา เช่น ผู้กู้ไม่นำเงินมาคืนตามที่ตกลงกันไว้หรือหนีหาย เจ้าของเงินผู้ที่เป็นคนปล่อยกู้ก็จะไม่สามารถดำเนินคดีตามกฎหมายได้ เพราะถ้าว่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องของการกู้ยืมเงินว่า “การกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่”

วิธี

ข้อกำหนดและองค์ประกอบสำคัญในการทำสัญญาเงินกู้

ข้อกำหนดในการทำสัญญาเงินกู้ ที่ผู้ที่ต้องการกู้หรือเป็นฝ่ายกู้ที่ควรรู้ก็มีดังต่อไปนี้

  1. ระบุจำนวนเงินเงินต้นที่กู้ยืมให้ชัดเจน ในการทำสัญญากู้ยืมเงินสิ่งสำคัญนั่นก็คือเรื่องของตัวเลขที่จะต้องมีความชัดเจนไม่กำกวม ทั้งในรูปแบบของตัวเลขและรูปแบบของตัวอักษร เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อทั้ง 2 ฝ่าย
  2. ระบุอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ตามกฎหมายแล้วในสัญญาเงินกู้จะต้องมีการระบุอัตราดอกเบี้ยที่ชัดเจนลงไปในสัญญาเงินกู้เพื่อความเป็นธรรมต่อทั้ง 2 ฝ่าย โดยอัตราดอกเบี้ยที่กฎหมายกำหนดไว้คือต้องไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี นั่นเอง
  3. ระยะเวลาในการชำระหนี้ แน่นอนว่าในการกู้ยืมเงินสิ่งสำคัญที่สุดนั่นก็คือการส่งมอบเงินคืน ซึ่งสิ่งที่จะเป็นตัวกำหนดว่าผู้ชำระหนี้จะต้องชำระหนี้ภายในวันไหนก็คือ วันที่ขอบเขตของการชำระหนี้ที่ระบุไว้ในสัญญา ดังนั้นวันที่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องกำหนดไว้ในสัญญา
  4. วันที่ลงนามในสัญญาหรือวันที่ทำสัญญา สิ่งนี้ก็เป็นเครื่องมือที่จะกำหนดได้ว่าระยะในการเริ่มต้นการกู้ยืมเงินคือวันไหน เพื่อสะดวกในการติดตามเงินและการคำนวณอัตราดอกเบี้ยด้วยนั่นเอง
  5. พยานผู้ที่ร่วมในเหตุการณ์การกู้ยืม แน่นอนว่าในการลงนามกู้ยืมเงินในสัญญานั้น มีความจำเป็นเป็นอย่างมากที่จะต้องตรวจสอบข้อกำหนดหรือรายละเอียดในการกู้ยืมเงินอย่างละเอียด ดังนั้นจึงต้องมีพยานจากทั้ง 2 ฝ่ายมาเพื่อยืนยันว่าสัญญาที่ร่างขึ้นมาฉบับนี้มีความเป็นธรรมต่อทั้ง 2 ฝ่ายนั่นเอง
  6. ลายเซ็นต์ผู้กู้และผู้ให้กู้ ลายเซ็นต์เป็นการยืนยันว่าตัวบุคคลนั้นๆได้ทำการกู้และให้กู้ด้วยตนเอง

สัญญาเงินกู้ ปัจจัยที่ต้องระวัง

ปัญหาและข้อควรระวังต่าง ๆ ของผู้ให้กู้เงินและผู้กู้เงิน

ซึ่งนี้ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญและข้อกำหนดที่สำคัญในการทำสัญญาเงินกู้ แต่อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ต้องพึงระวังอยู่เสมอก็คือปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นในการทำสัญญาเงินกู้นั่นก็คือ

  • เรื่องการเซ็นสัญญาเปล่าโดยไม่ระบุจำนวนเงิน นั่นก็คือผู้กู้ยืมมักจะยอมเซ็นสัญญาเปล่าลงไปโดยที่ไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าผู้ให้กู้จะไม่นำลายเซ็นนั้นไปเขียนผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรมให้กับตนเอง วิธีแก้ก็คือผู้กู้จะต้องอ่านสัญญาและตรวจสอบให้แน่ใจว่าตรงกับข้อกำหนดในการทำสัญญาและเป็นธรรมหรือไม่ก่อนค่อยเซ็นลายชื่อลงไปในสัญญา
  • เซ็นสัญญาโดยที่ไม่อ่านสัญญาให้ถี่ถ้วนก่อน แน่นอนว่าเอกสารทางการเงินมักจะมีความยาวค่อนข้างมากจึงทำให้หลายคนมักปล่อยปะละเลยที่จะอ่านให้จบ จนทำให้บ่อยครั้งที่มักจะถูกผู้ให้กู้เอาเปรียบ ดังนั้นในการกู้ยิมเงินแต่ละครั้งผู้กู้ควรตรวจสอบสัญญาให้ดีก่อนการกู้และเซ็นสัญญา
  • ไม่เก็บสัญญาเงินกู้และหลักฐานในการชำระเงิน บางครั้งที่ผู้กู้มักคิดว่าสัญญาใจเป็นสิ่งสำคัญ แต่หากท่านประสบโชคร้ายเจอผู้ให้กู้ที่เอาเปรียบก็อาจจะทำให้ท่านโดนฟ้องร้องย้อนหลังได้ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือเก็บต้นฉบับสัญญากู้และหลักฐานการชำระเงินเอาไว้ทุกใบเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรองว่าท่านได้ดำเนินการใช้หนี้อย่างถูกกฎหมายแล้ว
  • ระวังอย่าให้มีช่องว่างในการเติมจำนวนเงินที่กู้ แน่นอนว่าไม่มีใครทราบว่าเมื่อสัญญากู้ได้ตกไปถึงมือเจ้าหนี้แล้วเขาจะไปทำอะไรบ้าง ดังนั้นเราจึงไม่ควรเว้นช่องว่างในการเติมตัวเลขไว้และควรมีตัวเขียนจำนวนเงินกำกับไว้เสมอ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของตัวเลข
  • ควรทำคู่ฉบับสัญญาเป็น 2 ชุด เพื่อป้องกันไม่ใช่เจ้าหนี้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ในการทำสัญญา ซึ่งสัญญาทั้ง 2 ต้องมีข้อความรายละเอียดเหมือนกันทั้ง 2 ฉบับด้วย
  • ต้องขอสัญญาเงินกู้คืนเมื่อชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหนี้หัวใสนำสัญญากู้ฉบับนี้ไปดำเนินคดีเราในชั้นศาล นอกจากนี้ควรถ่ายภาพหรือบันทึกหลักฐานในการชำระหนี้ด้วย

ตัวอย่าง สัญญาเงินกู้

สัญญาเงินกู้ ตัวอย่าง

คลิกที่รูปเพื่อโหลดไฟล์ Word เอาไปใช้ได้เลย

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวของการทำสัญญากู้ยืมเงิน มาถึงตรงนี้สำหรับใครที่กำลังมีความประสงค์ที่จะกู้ยืมเงินอยู่แล้วล่ะก็ ท่านจะต้องความรอบครอบและระมัดระวังในการทำสัญญาให้ดี เพราะมิเช่นนั้นท่านอาจโดนเอาเปรียบจนหมดตัวได้ และแน่นอนว่าในการทำสัญญากู้ก็จะเป็นอีกหนึ่งหลักประกันที่จะช่วยให้คุณสบายใจที่จะยืมเงินใครได้อย่างถูกกฎหมายและไม่โดนเอาเปรียบอีกด้วย

หากถูกใจอย่าลืม กดแชร์!
Tags: , , , ,